วิธีตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ เช็ค FAR OSR กันเถอะ

ทำไมต้องรู้สีผังเมืองของตัวเอง?

สีผังเมือง หรือ ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นผังที่แบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ออกเป็นประเภทต่าง ๆ หากเรามีที่ดิน หรือ บ้านอยู่ในทำเลใด ควรจะตรวจสอบสีผังเมืองเพื่อให้ทราบถึงศักยภาพการพัฒนา ซึ่งส่งผลต่อราคาที่ดินของคุณ โดยสีผังเมืองจะบอกว่าอาคารประเภทใดบ้างที่พัฒนาได้ มี อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) และอัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) เท่าไหร่? หากที่ดินของเราอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาสูง มีค่า FAR มากสามารถสร้างอาคารได้ขนาดใหญ่ขึ้น ก็ส่งผลให้ที่ดินของเรามีมูลค่ามากขึ้นนั่นเอง

ในแต่ละจังหวัดหรือขอบเขตพื้นที่ปกครองจะมีข้อกำหนดสีผังเมืองต่างกัน หากเราและเพื่อนมีที่ดินขนาด 2 ไร่เท่ากัน อยู่ ห่างกันเพียง 500 เมตร ก็อาจมีศักยภาพการพัฒนาต่างกัน ทำให้ราคาที่ดินต่างกันมาก เช่น เมื่อตรวจสอบสีผังเมืองแล้วพบว่าที่ดินของเพื่อนอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.5 (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) มี FAR 7 และ OSR 4.5% แสดงว่าถ้าเพื่อนสามารถสร้างอาคารได้เต็มศักยภาพ FAR จะสร้างได้ 22,400 ตร.ม.

แต่ที่ดินของเราอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) มี FAR 2.5 และ OSR 12.5% เท่ากับว่าเราสร้างอาคารตาม FAR ได้เพียง 8,000 ตร.ม. ต่างกันถึง  14,400 ตร.ม. ถ้าเราจะชายที่ดินให้นักพัฒนา ก็เป็นไปได้ว่าผู้ซื้อจะสนใจที่ดินของเพื่อนมากกว่า และสามารถเรียกราคาที่ดินได้สูงกว่า

สีผังเมือง FAR OSR

วิธีตรวจสอบสีผังเมืองด้วยตัวเองง่าย ๆ

การตรวจสอบสีผังเมืองด้วยง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพียงคุณเข้าใช้งานเว็บไซต์ FEASY ฟรี! โดยมีวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ 2 วิธี คือ

  1. ดูข้อมูลบนแผนที่แค่ จิ้ม!
    • เลือกแถบ dropdown จังหวัด และพื้นที่สีผังเมือง
      เพื่อเลือกว่าคุณจะดูพื้นที่ให้ทำเลไหน แล้วซูมเข้าไปในพื้นที่ที่คุณต้องการเพื่อดูสีสีผังเมือง ในรูปตัวอย่าง จะเลือกจังหวัดกรุงเทพมหานคร และผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครปัจจุบัน หรือ ร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR
    • คลิกบนแผนที่เพื่อดูค่า FAR, OSR
      คลิกบนพื้นที่สีชมพูเพื่อดูข้อมูลสีผังเมือง ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน FAR OSR ของแต่ละพื้นที่ โดยที่คุณสามารถซูมเข้าออก และปรับระดับความโปร่งใสของสีผังเมืองบนแผนที่เพื่อความแม่นยำในการวิเคราะห์
ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

คุณสามารถดูผังสีตามจังหวัด และทำเลที่คุณต้องการเพียงค้นหาในระบบ ขณะนี้ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมืองทั้งหมด 21 จังหวัด ได้แก่

  • สีผังเมืองกรุงเทพมหานคร
  • สีผังเมืองสมุทรปราการ
  • สีผังเมืองปทุมธานี
  • สีผังเมืองพระนครศรีอยุธยา
  • สีผังเมืองEEC (ชลบุรี, ระยอง, ฉะเชิงเทรา)
  • สีผังเมืองชลบุรี
  • สีผังเมืองระยอง
  • สีผังเมืองฉะเชิงเทรา
  • สีผังเมืองนครราชสีมา
  • สีผังเมืองขอนแก่น
  • สีผังเมืองอุดรธานี
  • สีผังเมืองมหาสารคาม
  • สีผังเมืองเชียงใหม่
  • สีผังเมืองนครปฐม
  • สีผังเมืองสมุทรสาคร
  • สีผังเมืองเพชรบุรี
  • สีผังเมืองประจวบคีรีขันธ์
  • สีผังเมืองภูเก็ต
  • สีผังเมืองสงขลา
  1. ดูข้อมูลสีผังเมืองแบบละเอียดขึ้น ด้วยรายงานศักยภาพที่ดิน
    หลังจากที่คุณ “เพิ่มที่ดิน” แล้ว Feasy จะสร้างรายงานศักยภาพพื้นที่ให้คุณทันที หนึ่งในข้อมูลที่คุณจะได้รับ คือ ข้อมูลสีผังเมืองตามพิกัดที่ดินของคุณ ได้แก่ สีผังเมือง ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค่า FAR OSR และรายการสรุปประเภทที่อยู่อาศัยที่สามารถพัฒนาได้พร้อมเงื่อนไขการพัฒนา ซึ่ง FEASY ได้ทำการสรุปมาจาก สรุปข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมของแต่ละจังหวัด
ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

หากคุณมีที่ดินในมือ ไม่ว่าจะเป็นการรับมรดก ซื้อที่ดิน ขายที่ดิน หรือ เช่าที่ดิน Feasy แนะนำให้คุณหาข้อมูลวิเคราะห์ศักยภาพให้ดี เพื่อที่จะได้รู้มูลค่า ราคาที่ดินที่เหมาะสม Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จึงรวบรวมข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องใช้ในการทำความเข้าใจถึงศักยภาพ ให้คุณวางแผนการลงทุนได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

สมัครใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลอสังหาฯ เช็คสีผังเมืองได้ง่าย ๆ ทันที

สีผังเมือง, FAR, OSR

เว็บไซต์ https://www.feasyonline.com/content/detail/1207/

เช็คสีผังเมือง EEC ชลบุรี บนแผนที่ !! ใหม่ by tooktee

          เช็คสีผังเมือง EEC จากที่ได้มีประกาศแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือชื่อเรียกกันอย่างติดปากว่า ผังเมือง EEC (อีอีซี) นั้น 

          มีประเด็นอะไรกันบ้างที่น่าสนใจ ??? ทีมงานทุกที่ดอทคอม นำเนื้อหามาสรุปให้ท่านได้รู้ รวมไปถึงมีเครื่องมือที่ช่วยให้ท่านได้เช็คสีผังเมือง EEC ง่าย ๆ บนแผนที่ ดังนี้

          จากประกาศราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 9 ธันวาคม 2562 และได้มีผลบังคับใช้ในวันถัดมานั้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นแผนผังการพัฒนาขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 8.29 ล้านไร่ ในท้องที่ตั้งแต่กรุงเทพมหานคร (บางส่วน) ไปตามจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง รวมจำนวนถึง 5 จังหวัดเลยทีเดียว

          สิ่งที่ตามมาเมื่อผังเมือง EEC ประกาศใช้ ส่งผลให้ผังเมืองรวมเดิม ตามกฎหมายผังเมือง จะถูกยกเลิกทั้งหมด คิดเป็นผังเมืองรวมจังหวัด 3 ผัง ผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน 29 ผัง (แบ่งออกเป็น ฉะเชิงเทรา 8 ผัง ชลบุรี 10 ผัง และระยอง 11 ผัง) โดยในผังเมือง EEC นี้จะมีพื้นที่บางส่วนที่ไม่ครอบคลุมข้อกฎหมาย คือ เขตพระราชฐาน และพื้นที่ทหาร (พื้นที่ที่ได้ใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ทางการทหาร)

.

          ผังเมืองที่ประกาศเป็นภาพรวม โดยในอนาคตกรมโยธาธิการและผังเมือง จะจัดทำ ร่างผังเมืองอำเภอ ซึ่งเป็นผังเมืองที่จะลงรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากแผนผังอีอีซี โดย จะจัดทำทั้งหมด 30 ผังเมือง ครอบคลุม 30 อำเภอ แบ่งเป็นจังหวัดชลบุรี 11 ผัง จังหวัด ฉะเชิงเทรา 11 ผัง และจังหวัดระยองจำนวน 8 ผัง โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถประกาศให้บังคับใช้ได้ในปี 2565

สรุปจากประกาศราชกิจจานุเบกษาพบว่า มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 11 สี แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 พื้นที่พัฒนาเมืองและชุมชน

  1. สีแดง – ที่ดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม
  2. สีส้ม – ที่ดินประเภทชุมชนเมือง
  3. สีส้มอ่อนมีจุดสีขาว – ที่ดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง
  4. สีน้ำตาล – ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ

กลุ่มที่ 2 พื้่นที่พัฒนาอุตสาหกรรม

  1. สีม่วง – ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม
  2. สีม่วงอ่อนมีจุดสีขาว – ที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม

กลุ่มที่ 3 พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม

  1. สีเหลืองอ่อน – ที่ดินประเภทชุมชนชนบท
  2. สีเขียวอ่อน – ที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม
  3. สีเหลืองมีเส้นทแยงสีเขียว – ที่ดินประเภทที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน

กลุ่มที่ 4 พื้ืนที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  1. สีเขียวมีเส้นทแยงสีฟ้า – ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  2. สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว – ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากภาพด้านล่าง

สรุปการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังเมือง EEC

ขอบคุณภาพจาก www.eeco.or.th

    ซึ่งหากเช็คเปรียบเทียบสีผังเมืองกทม. (ปัจจุบัน) และสีผังเมือง EEC จะพบว่า คำจำกัดความการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ใช้ของผังเมือง EEC จะมีความแตกต่างอย่างชัดเจน

เปรียบเทียบผังเมืองกทม. และผังเมือง EEC

อาทิ สีแดง ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม เปลี่ยนเป็น ที่ดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม เป็นต้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าการจัดทำผังเมือง EEC นี้ ออกแบบเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การคมนาคมและการขนส่ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และรองรับการพัฒนาเมืองและชุมชนในอนาคตของพื้นที่ EEC นั้น ๆ

          ทั้งนี้จากฟีเจอร์เด่นในเว็บทุกที่ดอดคอม ที่มีเครื่องมือในการเช็คสีผังเมืองกทม. (ปัจจุบัน) และสีผังเมืองใหม่ (ยังไม่ประกาศใช้) ปัจจุบันทางทีมงานได้เพิ่มผังเมือง EEC ไว้ ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปเช็คการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ง่าย ๆ ตามตัวอย่างรูปภาพด้านล่าง

ผังเมือง EEC บนทุกที่ดอทคอม

หรือสามารถวาร์ปไปฟังก์ชั่นดังกล่าวทางลิงค์ https://www.tooktee.com/map?overlaymap=eec

.

          อย่างไรก็ตามข้อมูลผังสีที่อยู่ในเว็บไซต์ทุกที่ดอคคอม ได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์ Feasyonline.com  โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ ให้คุณเข้าถึงข้อมูลอสังหาฯ และเครื่องมือวิเคราะห์การลงทุน ง่าย ครบ จบในที่เดียว 

          หากใครใช้ฟังชั่นในทุกที่ดอทคอม แล้วอยากได้การวิเคราะห์อสังหาฯ ฉบับเต็มสามารถสมัครสมาชิก Feasyonline.com เพื่อใช้บริการขั้นมืออาชีพได้เลยครับ

รูปบทความ : ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่

ผังเมือง EEC 
เช็คสีผังเมือง EEC
ตรวจสอบสีผังเมือง EEC
สีผังเมือง
วิธีเช็คสีผังเมือง

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.tooktee.com/contents/detail/1984

ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. ร่างผังเมืองใหม่ by Tooktee

ทำไมต้องรู้กฎหมายผังเมือง?

ตรวจสอบสีผังเมืองง่ายๆ แต่ต้องรู้กฎหมายผังเมืองก่อน ผังเมืองที่มีอยู่ในแต่ละจังหวัด จะบอกถึงศักยภาพในการพัฒนาว่าเราสามารถสร้างอาคารประเภทไหนได้บ้าง สร้างได้ขนาดเท่าไหร่ สมมุติว่าเราได้ที่ดินขึ้นมาแปลงหนึ่งในราคาถูก อยากจะสร้างคอนโดมิเนียมขาย แต่ที่ดินคุณตั้งอยู่ในพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นที่ดินประเภทส่งเสริมด้านชนบทและเกษตรกรรม ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสสร้างคอนโดมิเนียมได้บ้างในพื้นที่ (บางพื้นที่กำหนดให้สร้างได้เพียง 5% ของพื้นที่ทั้งหมด) แต่การพัฒนาคอนโดมิเนียมแนวสูงแบบ Hige rise สร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำให้คุณคงเป็นไปไม่ได้  ก็กลับกลายเป็นว่าคุณได้จ่ายเงินซื้อที่ดินในทำเลที่มีศักยภาพน้อยไปซะแล้ว โอกาสในการพัฒนาอะไรก็จะยากขึ้น ก่อนจะซื้อที่ดิน หรือ อสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ก็ควรตรวจสอบสีผังเมืองให้แน่ใจกันก่อนนะคะ

ประเภทสีผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ในทุกจังหวัดจะมีการกำหนดและจัดสรรผังเมืองเอาไว้ สำหรับสีผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2556 และร่างผังเมืองฉบับใหม่ จะแบ่งแยกออกเป็นโซนไล่ตามสีทั้งหมด 10 ประเภท (อันที่จริงมีย่อยกว่านั้นอีก) โดยจะบอกได้ว่าแต่ละสีหมายถึงอะไร เป็นที่ดินแบบไหน อีกทั้งยังส่งผลต่อราคาที่ดินอีกด้วย ถึงแม้ว่าที่ตั้งที่ดินจะห่างกันเพียงแค่ไม่กี่เมตร ก็อาจมีศักยภาพการพัฒนาที่ต่างกันอย่างมากตามข้อกำหนดสีผังเมือง

  • พื้นที่สีเหลือง – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
  • พื้นที่สีส้ม – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
  • พื้นที่สีน้ำตาล – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
  • พื้นที่สีน้ำเงิน – ที่ดินประเภทสถาบันราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
  • พื้นที่สีน้ำตาลอ่อน – ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (ในร่างผังเมืองใหม่ จะเปลี่ยนประเภทสีผังเมืองนี้เป็นพื้นที่พานิชยกรรม พ.1 และ พ.2)
  • พื้นที่สีแดง – ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
  • พื้นที่สีม่วง – ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม
  • พื้นที่สีเม็ดมะปราง – ที่ดินประเภทคลังสินค้า
  • พื้นที่สีขาวมีกรอบและเส้นทะแยงสีเขียว – ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
  • พื้นที่สีเขียว – ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม

ในประเภทสีผังเมืองทั้งหมด 10 สีนั้น จะแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 31 บริเวณในร่างผังเมืองใหม่ เพิ่มขึ้นจากประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 26 บริเวณในกฎหมายผังเมืองเดิม ซึ่งหมายความว่าถึงแม้ที่ดินจะอยู่ในพื้นที่สีเดียวกัน ก็อาจมีข้อจำกัดการพัฒนาที่ทำให้สร้างอาคารบางประเภทไม่ได้นั่นเอง

วิธีตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ แค่ 3 ขั้นตอน

1.    ดูสีผังเมืองบนแผนที่ TOOKTEE

ค้นหาทำเลบ้านของคุณจากชื่อซอย ชื่อเขต หรือชื่อโครงการบ้านของคุณ หรือซูมลงบนแผนที่ได้เลย ขณะนี้ TOOKTEE เปิดให้บริการตรวจสอบสีผังเมืองบนแผนที่ใน 3 พื้นที่ ดังนี้

  • ดูผังเมืองรวมกรุงเทพปัจจุบันได้ที่นี่ >> CLICK
  • ดูร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฉบับใหม่ได้ที่นี่ >> CLICK 
  • ดูผังเมือง EEC ได้ที่นี่ >> CLICK 
รูปบทความ : ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่

สามารถปรับ Opacity ความโปร่งใสของแผนที่เพื่อให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น

รูปบทความ : ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่

2.    คลิกบนแผนที่ เพื่อเลือกที่ตั้งที่ดิน หรือบ้านของเรา 

จะเห็นสีผังเมือง เช่น ในตัวอย่างเราดูจากสีผังเมืองปัจจุบัน พบว่าบ้านของเราอยู่ในพื้นที่เขตคลองสาน ติดถนนกรุงธนบุรี มีสีผังเมืองสีน้ำตาล หรือ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (ย.8) FAR = 6 และ OSR =5
อยากรู้ FAR/ OSR คืออะไร บอกอะไรได้บ้าง Click!

รูปบทความ : ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่

3.    ถ้าอยากรู้ว่าพื้นที่ของเราสามารถสร้างอาคารประเภทใดได้บ้าง สามารถนำประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในตัวอย่างคือ พื้นที่สีน้ำตาล ย.8 ไปตรวจสอบได้ที่ ตารางสรุปข้อกําหนดการใช้ประโยชนที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556

รูปบทความ : ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่

ด้วยวิธีง่าย ๆ แค่นี้เราก็สามารถตรวจสอบสีผังเมือง และการใช้ประโยชน์ที่ดินกันได้แล้ว TOOKTEE หวังว่าเพื่อนๆ จะได้รับประโยชน์จากการใช้งานแผนที่ TOOKTEE ของเรา ใครที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์ บ้าน ที่ดิน และอื่น ๆ ก็เข้ามาตรวจสอบสีผังเมืองกันได้เลย ถ้าใครที่อยากรู้ว่ากฎหมายผังเมืองรวมกรุงเทพใหม่แตกต่างจากฉบับเดิมอย่างไร สามารถอ่านบทความ สรุปร่างผังเมืองใหม่ หนุนกรุงเทพให้เป็นมหานครแห่งเอเชียใน 20 ปี เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น พร้อมประกาศใช้ ธ.ค. 2563 ได้ที่นี่

หรืออยากจะเปรียบเทียบรายละเอียดสีผังเมืองรวมกรุงเทพฉบับปัจจุบัน – ฉบับใหม่ บนแผนที่ได้ที่นี่

รูปบทความ : ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่

สำหรับคนที่อยู่นอกพื้นที่ที่ TOOKTEE ให้บริการตรวจสอบสีผังเมืองบนแผนที่ก็อย่าเสียใจไป เพราะ TOOKTEE กำลังเปิดให้บริการสีผังเมืองในจังหวัดอื่นๆ ตามมา ได้แก่ นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา ระยอง เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และภูเก็ต

ตรวจสอบสีผังเมือง : https://www.tooktee.com/map?overlaymap=bkk

รูปบทความ : ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่

#สีผังเมือง #ตรวจสอบสีผังเมือง #การใช้ประโยชน์ที่ดิน #ผังเมือง #ผังเมืองรวม #ผังเมืองชลบุรี

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.tooktee.com/map?overlaymap=bkk

วิธีตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ เช็ค FAR OSR by FEASY

ทำไมต้องรู้สีผังเมืองของตัวเอง?

สีผังเมือง หรือ ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นผังที่แบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ออกเป็นประเภทต่าง ๆ หากเรามีที่ดิน หรือ บ้านอยู่ในทำเลใด ควรจะตรวจสอบสีผังเมืองเพื่อให้ทราบถึงศักยภาพการพัฒนา ซึ่งส่งผลต่อราคาที่ดินของคุณ โดยสีผังเมืองจะบอกว่าอาคารประเภทใดบ้างที่พัฒนาได้ มี อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) และอัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) เท่าไหร่? หากที่ดินของเราอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาสูง มีค่า FAR มากสามารถสร้างอาคารได้ขนาดใหญ่ขึ้น ก็ส่งผลให้ที่ดินของเรามีมูลค่ามากขึ้นนั่นเอง

ในแต่ละจังหวัดหรือขอบเขตพื้นที่ปกครองจะมีข้อกำหนดสีผังเมืองต่างกัน หากเราและเพื่อนมีที่ดินขนาด 2 ไร่เท่ากัน อยู่ ห่างกันเพียง 500 เมตร ก็อาจมีศักยภาพการพัฒนาต่างกัน ทำให้ราคาที่ดินต่างกันมาก เช่น เมื่อตรวจสอบสีผังเมืองแล้วพบว่าที่ดินของเพื่อนอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.5 (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) มี FAR 7 และ OSR 4.5% แสดงว่าถ้าเพื่อนสามารถสร้างอาคารได้เต็มศักยภาพ FAR จะสร้างได้ 22,400 ตร.ม.

แต่ที่ดินของเราอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) มี FAR 2.5 และ OSR 12.5% เท่ากับว่าเราสร้างอาคารตาม FAR ได้เพียง 8,000 ตร.ม. ต่างกันถึง  14,400 ตร.ม. ถ้าเราจะชายที่ดินให้นักพัฒนา ก็เป็นไปได้ว่าผู้ซื้อจะสนใจที่ดินของเพื่อนมากกว่า และสามารถเรียกราคาที่ดินได้สูงกว่า

สีผังเมือง FAR OSR

วิธีตรวจสอบสีผังเมืองด้วยตัวเองง่าย ๆ

การตรวจสอบสีผังเมืองด้วยง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพียงคุณเข้าใช้งานเว็บไซต์ FEASY ฟรี! โดยมีวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ 2 วิธี คือ

  1. ดูข้อมูลบนแผนที่แค่ จิ้ม!
    • เลือกแถบ dropdown จังหวัด และพื้นที่สีผังเมือง
      เพื่อเลือกว่าคุณจะดูพื้นที่ให้ทำเลไหน แล้วซูมเข้าไปในพื้นที่ที่คุณต้องการเพื่อดูสีผังเมือง ในรูปตัวอย่าง จะเลือกจังหวัดกรุงเทพมหานคร และผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครปัจจุบัน หรือ ร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่
    • คลิกบนแผนที่เพื่อดูค่า FAR, OSR
      คลิกบนพื้นที่สีชมพูเพื่อดูข้อมูลสีผังเมือง ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน FAR OSR ของแต่ละพื้นที่ โดยที่คุณสามารถซูมเข้าออก และปรับระดับความโปร่งใสของสีผังเมืองบนแผนที่เพื่อความแม่นยำในการวิเคราะห์
ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

คุณสามารถดูผังสีตามจังหวัด และทำเลที่คุณต้องการเพียงค้นหาในระบบ ขณะนี้ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมืองทั้งหมด 21 จังหวัด ได้แก่

  • สีผังเมืองกรุงเทพมหานคร
  • สีผังเมืองสมุทรปราการ
  • สีผังเมืองปทุมธานี
  • สีผังเมืองพระนครศรีอยุธยา
  • สีผังเมืองEEC (ชลบุรี, ระยอง, ฉะเชิงเทรา)
  • สีผังเมืองชลบุรี
  • สีผังเมืองระยอง
  • สีผังเมืองฉะเชิงเทรา
  • สีผังเมืองนครราชสีมา
  • สีผังเมืองขอนแก่น
  • สีผังเมืองอุดรธานี
  • สีผังเมืองมหาสารคาม
  • สีผังเมืองเชียงใหม่
  • สีผังเมืองนครปฐม
  • สีผังเมืองสมุทรสาคร
  • สีผังเมืองเพชรบุรี
  • สีผังเมืองประจวบคีรีขันธ์
  • สีผังเมืองภูเก็ต
  • สีผังเมืองสงขลา
  1. ดูข้อมูลสีผังเมืองแบบละเอียดขึ้น ด้วยรายงานศักยภาพที่ดิน
    หลังจากที่คุณ “เพิ่มที่ดิน” แล้ว Feasy จะสร้างรายงานศักยภาพพื้นที่ให้คุณทันที หนึ่งในข้อมูลที่คุณจะได้รับ คือ ข้อมูลสีผังเมือง ตามพิกัดที่ดินของคุณ ได้แก่ สีผังเมือง ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค่า FAR OSR และรายการสรุปประเภทที่อยู่อาศัยที่สามารถพัฒนาได้พร้อมเงื่อนไขการพัฒนา ซึ่ง FEASY ได้ทำการสรุปมาจาก สรุปข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมของแต่ละจังหวัด
ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

หากคุณมีที่ดินในมือ ไม่ว่าจะเป็นการรับมรดก ซื้อที่ดิน ขายที่ดิน หรือ เช่าที่ดิน Feasy แนะนำให้คุณหาข้อมูลวิเคราะห์ศักยภาพให้ดี เพื่อที่จะได้รู้มูลค่า ราคาที่ดินที่เหมาะสม Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จึงรวบรวมข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องใช้ในการทำความเข้าใจถึงศักยภาพ ให้คุณวางแผนการลงทุนได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

สมัครใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลอสังหาฯ เช็คสีผังเมืองได้ง่าย ๆ ทันที


ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY https://line.me/R/ti/p/%40732vokrq

สีผังเมือง FAR OSR ความรู้อสังหาฯ ที่ดิน FAR ราคาที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : http://feasyonline.com/content/detail/1207