วิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่าย ๆ จะมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินก็เช็คได้

ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ของคุณได้ทันที
ราคาประเมิน
ความรู้อสังหาฯ
กฎหมายอสังหาฯ
อสังหา 101
ที่ดิน
ราคาที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1187

ตรวจสอบราคาที่ดิน ราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ราคาที่ดิน ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ราคาที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ราคาที่ดิน ของคุณได้ทันที

ราคาที่ดิน
ความรู้อสังหาฯ
กฎหมายอสังหาฯ
อสังหา 101
ที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1187/

ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดิน วิธีเช็คแนวเวนคืนที่ดินจะได้ไม่โดนหลอก

วิธีเช็คแนวเวนคืนก่อนซื้อที่ดิน ราคาที่ดินก็แพงขึ้นเรื่อย ๆ จะซื้อทั้งทีต้องลงทุนเยอะ แต่สภาพคล่องต่ำ ก่อนจะซื้อที่ดินสักแปลงเราจึงต้องตรวจสอบศักยภาพของที่ดินก่อนว่าคุ้มค่ากับราคาหรือไม่ เพราะบางครั้งที่ดินที่เรามองว่าสวย ทำเลดี อาจไม่ได้มีมูลค่ามากอย่างที่ตั้งราคาขายไว้ หรือ ที่ดินบางที่อาจจะดูไม่ดีนักแต่เราสามารถนำไปพัฒนาให้มีมูลค่าสูงได้ เพราะเป็นที่ดินที่มีศักยภาพสูงนั่นเอง วันนี้ Feasy โปรแกรมวางแผนการลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จะมาสรุปสิ่งที่เราต้องเช็คก่อนซื้อที่ดิน จะได้ไม่พลาดนั่นเอง

  1. ตำแหน่งที่ดิน

อย่างแรกที่เราต้องตรวจสอบคือ แนวเวนคืน ตำแหน่งและรูปร่างของที่ดิน วิธีการตรวจสอบ ได้แก่ การดูขอบเขตที่ดินผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน ดูลักษณะที่ดินผ่าน Google maps หรือการลงพื้นที่ไปสำรวจที่ดินด้วยตัวเอง ไม่ว่าอย่างไรก็ตามคุณต้องรู้ตำแหน่งที่ถูกต้อง และ รูปร่างที่ดิน ซึ่งมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคาร เพราะรูปร่างที่ดินที่มีมุมมาก หรือ แคบจนเกินไป ก็จะพัฒนาอาคารได้ยาก

  1. ทางเข้าออก ติดถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล

ขั้นตอนต่อไปเราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินของเรามีทางเข้าออกถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้อาจดูด้วยตาเปล่าอย่างเดียวไม่ได้ ต้องตรวจสอบเขตทางผ่านเว็บไซต์ของราชการ เพราะ ที่ดินบางทำเลอาจดูเหมือนมีทางเข้าออกทีรถและคนสามารถใช้ได้แต่ตามกฎหมายถนนนั้นเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ทำให้เราไม่มีสิทธิใช้ได้ เป็นต้น หากที่ดินของเราติดถนน เราต้องตรวจสอบด้วยว่าเป็นถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล เพราะมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารเช่นกัน

  1. สีผังเมือง บอกศักยภาพการพัฒนาอาคาร และประเภทอาคารที่สร้างได้

สีผังเมืองในแต่ละพื้นที่จะแต่งต่างกัน เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง แต่ละพื้นที่จึงมีศักยภาพในการพัฒนาอาคารต่างกันนั่นเอง ที่ดินใจกลางเมือง หรือที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามักจะมีศักยภาพตามสีผังเมืองที่สูงกว่าที่ดินเขตนอกเมือง หมายความว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ขนาดใหญ่กว่าแม้มีที่ดินขนาดเท่ากัน และสามารถพัฒนาอาคารประเภทพาณิชยกรรมได้โดยมีเงื่อนไขน้อยกว่า เช่น หากเราม่ีที่ดินขนาด 2 ไร่

กรณีที่ 1

ที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.3 ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม มี FAR 7 และ OSR 4.5% จะพัฒนาอาคารได้สูงสุด 22,400 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคารเพียง 144 ตร.ม. จากพื้นที่ดิน 1,600 ตร.ม. และสามารถพัฒนาอาคารได้หลากหลายประเภท

กรณีที่ 2

ที่ดินตั้งอยู่ห่างออกไปเพียง  10 เมตร แต่ไปตกอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย FAR 2.5  และ OSR 12.5% จะสามารถพัฒนาอาคารได้สูงสุด 4,000 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคาร 400 ตร.ม. เท่ากับว่าพัฒนาอาคารได้ขนาดเล็กลง อีกทั้งยังไม่สามารถมารถพัฒนาอาคารบางประเภท หรือ ต้องพัฒนาภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น สร้างอาคารพานิชยกรรมขนาดตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไปไม่ได้ เป็นต้น

จาก 2 กรณีข้างต้นจะเห็นว่า ศักยภาพการพัฒนาของที่ดินจะต่างกันอย่างมากหากอยู่บนพื้นที่สีผังเมืองคนละสีกัน แม้ที่ตั้งจะห่างกันเพียงเล็กน้อยก็ตาม หากคุณต้องการตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมือง 21 จังหวัดพร้อมระบุข้อมูล FAR, OSR มาไว้บนแผนที่
สมัครสมาชิก ตรวจสอบสีผังเมืองฟรี ที่นี่

ดูเพิ่มเติม
อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) คืออะไร? อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) คืออะไร?

  1. การเวนคืนที่ผ่านและในอนาคต

ก่อนซื้อที่ดินควรตรวจสอบว่าจะมีการเวนคืนที่ส่งผลกระทบกับที่ดินของเราหรือไม่ Feasy ได้รวบรวมข้อมูลแนวเวนคืนใน 21 จังหวัด และลิงค์เอกสารราชการมาไว้บนแผนที่เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ
สมััครสมาชิก ตรวจสอบแนวเวนคืนฟรี ที่นี่

  1. พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

คล้ายกับการตรวจสอบแนวเวนคืน ในแต่ละพื้นที่อาจมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่จะกำหนดว่าห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท เช่น พื้นที่รอบท่าอากาศยานจะมีข้อกำหนดว่าในระยะใกล้ๆ เช่น ระยะ 300 เมตรจากแนวเขตที่ดินของสนามบินไม่สามารถสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ห้องแถวหรือตึกแถว เป็นต้น ในขณะที่ระยะที่ไกลออกไปก็จะปรับข้อกำหนดต่าง ๆ กันไป ก่อนการซื้อที่ดินจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ตามที่เราวางแผนไว้ Feasy ได้รวบรวมพื้นที่ห้ามก่อสร้าง 21 จังหวัดไว้เพื่อให้คุณตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้น

สมััครสมาชิก ตรวจสอบพื้นที่ห้ามก่อสร้างฟรี ที่นี่

     เมื่อเราเห็นศักยภาพของที่ดิน และต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจ ซื้อ-ขายที่ดิน ต้องตรวจสอบ จากการคัดโฉนด ที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งคุณจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่

  1. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่

  1. การจดจำนอง (ถ้ามี)

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะแสดงข้อมูลนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่ดินนั้น หากติดจำนองกับธนาคารอยู่ก็จะสามารถตรวจสอบได้

  1. การรอนสิทธิ

ได้แก่ ภาระจำยอม สัญญาเช่า ที่ดินใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อมูลค่า ราคาทีดิน เพราะทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม การรอนสิทธิ คืออะไร? เจ้าของที่ดิน ผู้จะซื้อ-เช่าที่ดินต้องรู้
 

  1. หากที่ดินของคุณอยู่ในพื้นที่หมิ่นเหม่
    เช่น อาจครอบคลุมสีผังเมือง 2 สี หรืออยู่ใกล้กับแนวเวนคืนมาก ทำให้คุณไม่มั่นใจว่าที่ดินอยู่ในแนวเขตสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างใด ก็ควรส่งเอกสารตรวจสอบกับกรมที่ดินเพื่อความมั่นใจ

     ก่อนซื้อ-เช่าที่ดินมีหลายข้อที่ต้องตรวจสอบให้มั่นใจ จะได้ไม่โดนหลอก ทำให้เราสามารถพัฒนาพื้นที่ได้เต็มศักยภาพของที่ดิน Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ มีเป้าหมายที่จะช่วยนักลงทุนอสังหาฯ ลดความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน เราจึงพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์นายหน้า เจ้าของที่ดิน นักลงทุนทั้งรายเล็กและรายใหญ่ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

สมัครใช้งานฟรี! ตรวจสอบสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างทันที
 

#แนวเวนคืน
#กฎหมายอสังหาฯ
#ที่ดิน
#ผังเมือง
#ราคาที่ดิน
#พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1190

วิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ง่าย ๆ จะมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินก็เช็คได้

ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ของคุณได้ทันที
ราคาประเมินที่ดิน, โฉนด #ความรู้อสังหาฯ. #กฎหมายอสังหาฯ #อสังหา 101 #ที่ดิน #ราคาที่ดิน

เว็บอ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1187

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่าย ๆ จะมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินก็เช็คได้ by feasyonline

ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ของคุณได้ทันที



ข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY 
#ความรู้อสังหาฯ.#กฎหมายอสังหาฯ#อสังหา 101#ที่ดิน#ราคาที่ดิน

ราคาประเมินที่ดิน, โฉนด #ความรู้อสังหาฯ #กฎหมายอสังหาฯ#อสังหา 101#ที่ดิน#ราคาที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : http://feasyonline.com/content/detail/1187

วิธีตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ เช็ค FAR OSR by FEASY

ทำไมต้องรู้สีผังเมืองของตัวเอง?

สีผังเมือง หรือ ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นผังที่แบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ออกเป็นประเภทต่าง ๆ หากเรามีที่ดิน หรือ บ้านอยู่ในทำเลใด ควรจะตรวจสอบสีผังเมืองเพื่อให้ทราบถึงศักยภาพการพัฒนา ซึ่งส่งผลต่อราคาที่ดินของคุณ โดยสีผังเมืองจะบอกว่าอาคารประเภทใดบ้างที่พัฒนาได้ มี อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) และอัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) เท่าไหร่? หากที่ดินของเราอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาสูง มีค่า FAR มากสามารถสร้างอาคารได้ขนาดใหญ่ขึ้น ก็ส่งผลให้ที่ดินของเรามีมูลค่ามากขึ้นนั่นเอง

ในแต่ละจังหวัดหรือขอบเขตพื้นที่ปกครองจะมีข้อกำหนดสีผังเมืองต่างกัน หากเราและเพื่อนมีที่ดินขนาด 2 ไร่เท่ากัน อยู่ ห่างกันเพียง 500 เมตร ก็อาจมีศักยภาพการพัฒนาต่างกัน ทำให้ราคาที่ดินต่างกันมาก เช่น เมื่อตรวจสอบสีผังเมืองแล้วพบว่าที่ดินของเพื่อนอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.5 (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) มี FAR 7 และ OSR 4.5% แสดงว่าถ้าเพื่อนสามารถสร้างอาคารได้เต็มศักยภาพ FAR จะสร้างได้ 22,400 ตร.ม.

แต่ที่ดินของเราอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) มี FAR 2.5 และ OSR 12.5% เท่ากับว่าเราสร้างอาคารตาม FAR ได้เพียง 8,000 ตร.ม. ต่างกันถึง  14,400 ตร.ม. ถ้าเราจะชายที่ดินให้นักพัฒนา ก็เป็นไปได้ว่าผู้ซื้อจะสนใจที่ดินของเพื่อนมากกว่า และสามารถเรียกราคาที่ดินได้สูงกว่า

สีผังเมือง FAR OSR

วิธีตรวจสอบสีผังเมืองด้วยตัวเองง่าย ๆ

การตรวจสอบสีผังเมืองด้วยง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพียงคุณเข้าใช้งานเว็บไซต์ FEASY ฟรี! โดยมีวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ 2 วิธี คือ

  1. ดูข้อมูลบนแผนที่แค่ จิ้ม!
    • เลือกแถบ dropdown จังหวัด และพื้นที่สีผังเมือง
      เพื่อเลือกว่าคุณจะดูพื้นที่ให้ทำเลไหน แล้วซูมเข้าไปในพื้นที่ที่คุณต้องการเพื่อดูสีผังเมือง ในรูปตัวอย่าง จะเลือกจังหวัดกรุงเทพมหานคร และผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครปัจจุบัน หรือ ร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่
    • คลิกบนแผนที่เพื่อดูค่า FAR, OSR
      คลิกบนพื้นที่สีชมพูเพื่อดูข้อมูลสีผังเมือง ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน FAR OSR ของแต่ละพื้นที่ โดยที่คุณสามารถซูมเข้าออก และปรับระดับความโปร่งใสของสีผังเมืองบนแผนที่เพื่อความแม่นยำในการวิเคราะห์
ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

คุณสามารถดูผังสีตามจังหวัด และทำเลที่คุณต้องการเพียงค้นหาในระบบ ขณะนี้ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมืองทั้งหมด 21 จังหวัด ได้แก่

  • สีผังเมืองกรุงเทพมหานคร
  • สีผังเมืองสมุทรปราการ
  • สีผังเมืองปทุมธานี
  • สีผังเมืองพระนครศรีอยุธยา
  • สีผังเมืองEEC (ชลบุรี, ระยอง, ฉะเชิงเทรา)
  • สีผังเมืองชลบุรี
  • สีผังเมืองระยอง
  • สีผังเมืองฉะเชิงเทรา
  • สีผังเมืองนครราชสีมา
  • สีผังเมืองขอนแก่น
  • สีผังเมืองอุดรธานี
  • สีผังเมืองมหาสารคาม
  • สีผังเมืองเชียงใหม่
  • สีผังเมืองนครปฐม
  • สีผังเมืองสมุทรสาคร
  • สีผังเมืองเพชรบุรี
  • สีผังเมืองประจวบคีรีขันธ์
  • สีผังเมืองภูเก็ต
  • สีผังเมืองสงขลา
  1. ดูข้อมูลสีผังเมืองแบบละเอียดขึ้น ด้วยรายงานศักยภาพที่ดิน
    หลังจากที่คุณ “เพิ่มที่ดิน” แล้ว Feasy จะสร้างรายงานศักยภาพพื้นที่ให้คุณทันที หนึ่งในข้อมูลที่คุณจะได้รับ คือ ข้อมูลสีผังเมือง ตามพิกัดที่ดินของคุณ ได้แก่ สีผังเมือง ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค่า FAR OSR และรายการสรุปประเภทที่อยู่อาศัยที่สามารถพัฒนาได้พร้อมเงื่อนไขการพัฒนา ซึ่ง FEASY ได้ทำการสรุปมาจาก สรุปข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมของแต่ละจังหวัด
ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

หากคุณมีที่ดินในมือ ไม่ว่าจะเป็นการรับมรดก ซื้อที่ดิน ขายที่ดิน หรือ เช่าที่ดิน Feasy แนะนำให้คุณหาข้อมูลวิเคราะห์ศักยภาพให้ดี เพื่อที่จะได้รู้มูลค่า ราคาที่ดินที่เหมาะสม Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จึงรวบรวมข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องใช้ในการทำความเข้าใจถึงศักยภาพ ให้คุณวางแผนการลงทุนได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

สมัครใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลอสังหาฯ เช็คสีผังเมืองได้ง่าย ๆ ทันที


ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY https://line.me/R/ti/p/%40732vokrq

สีผังเมือง FAR OSR ความรู้อสังหาฯ ที่ดิน FAR ราคาที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : http://feasyonline.com/content/detail/1207

12 ข้อต้องตรวจสอบเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน สำหรับนายหน้า ก่อนซื้อ-เช่าที่ดิน

ราคาที่ดินก็แพงขึ้นเรื่อย ๆ จะซื้อทั้งทีต้องลงทุนเยอะ แต่สภาพคล่องต่ำ ก่อนจะซื้อที่ดินสักแปลงเราจึงต้องตรวจสอบศักยภาพของที่ดินก่อนว่าคุ้มค่ากับราคาหรือไม่ เพราะบางครั้งที่ดินที่เรามองว่าสวย ทำเลดี อาจไม่ได้มีมูลค่ามากอย่างที่ตั้งราคาขายไว้ หรือ ที่ดินบางที่อาจจะดูไม่ดีนักแต่เราสามารถนำไปพัฒนาให้มีมูลค่าสูงได้ เพราะเป็นที่ดินที่มีศักยภาพสูงนั่นเอง วันนี้ Feasy โปรแกรมวางแผนการลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จะมาสรุปสิ่งที่เราต้องเช็คก่อนซื้อที่ดิน จะได้ไม่พลาดนั่นเอง

http://feasyonline.com/content/detail/1201
12 ข้อต้องตรวจสอบเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน สำหรับนายหน้า ก่อนซื้อ-เช่าที่ดิน
  1. ตำแหน่งที่ดิน

อย่างแรกที่เราต้องตรวจสอบคือ ตำแหน่งและรูปร่างของที่ดิน วิธีการตรวจสอบราคาที่ดิน ได้แก่ การดูขอบเขตที่ดินผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน ดูลักษณะที่ดินผ่าน Google maps หรือการลงพื้นที่ไปสำรวจที่ดินด้วยตัวเอง ไม่ว่าอย่างไรก็ตามคุณต้องรู้ตำแหน่งที่ถูกต้อง และ รูปร่างที่ดิน ซึ่งมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคาร เพราะรูปร่างที่ดินที่มีมุมมาก หรือ แคบจนเกินไป ก็จะพัฒนาอาคารได้ยาก

  1. ทางเข้าออก ติดถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล

ขั้นตอนต่อไปเราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินของเรามีทางเข้าออกถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้อาจดูด้วยตาเปล่าอย่างเดียวไม่ได้ ต้องตรวจสอบเขตทางผ่านเว็บไซต์ของราชการ เพราะ ที่ดินบางทำเลอาจดูเหมือนมีทางเข้าออกทีรถและคนสามารถใช้ได้แต่ตามกฎหมายถนนนั้นเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ทำให้เราไม่มีสิทธิใช้ได้ เป็นต้น หากที่ดินของเราติดถนน เราต้องตรวจสอบด้วยว่าเป็นถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล เพราะมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารเช่นกัน

  1. สีผังเมือง บอกศักยภาพการพัฒนาอาคาร และประเภทอาคารที่สร้างได้

สีผังเมืองในแต่ละพื้นที่จะแต่งต่างกัน เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง แต่ละพื้นที่จึงมีศักยภาพในการพัฒนาอาคารต่างกันนั่นเอง ที่ดินใจกลางเมือง หรือที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามักจะมีศักยภาพตามสีผังเมืองที่สูงกว่าที่ดินเขตนอกเมือง หมายความว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ขนาดใหญ่กว่าแม้มีที่ดินขนาดเท่ากัน และสามารถพัฒนาอาคารประเภทพาณิชยกรรมได้โดยมีเงื่อนไขน้อยกว่า เช่น หากเรามีที่ดินขนาด 2 ไร่

กรณีที่ 1

ที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.3 ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม มี FAR 7 และ OSR 4.5% จะพัฒนาอาคารได้สูงสุด 22,400 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคารเพียง 144 ตร.ม. จากพื้นที่ดิน 1,600 ตร.ม. และสามารถพัฒนาอาคารได้หลากหลายประเภท

สีผังเมือง FAR OSR

กรณีที่ 2

ที่ดินตั้งอยู่ห่างออกไปเพียง 10 เมตร แต่ไปตกอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย FAR 2.5  และ OSR 12.5% จะสามารถพัฒนาอาคารได้สูงสุด 8,000 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคาร 400 ตร.ม. เท่ากับว่าพัฒนาอาคารได้ขนาดเล็กลง อีกทั้งยังไม่สามารถมารถพัฒนาอาคารบางประเภท หรือ ต้องพัฒนาภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น สร้างอาคารพานิชยกรรมขนาดตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไปไม่ได้ เป็นต้น

สีผังเมือง FAR OSR

จาก 2 กรณีข้างต้นจะเห็นว่า ศักยภาพการพัฒนาของที่ดินจะต่างกันอย่างมากหากอยู่บนพื้นที่สีผังเมืองคนละสีกัน แม้ที่ตั้งจะห่างกันเพียงเล็กน้อยก็ตาม หากคุณต้องการตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมือง 21 จังหวัดพร้อมระบุข้อมูล FAR, OSR มาไว้บนแผนที่
สมัครสมาชิก ตรวจสอบสีผังเมืองฟรี ที่นี่

ดูเพิ่มเติม
อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) คืออะไร? อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) คืออะไร?

  1. การเวนคืนที่ผ่านและในอนาคต

ก่อนซื้อที่ดินควรตรวจสอบว่าจะมีการเวนคืนที่ส่งผลกระทบกับที่ดินของเราหรือไม่ Feasy ได้รวบรวมข้อมูลแนวเวนคืนใน 21 จังหวัด และลิงค์เอกสารราชการมาไว้บนแผนที่เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ

แนวเวนคืน

 สมัครสมาชิก ตรวจสอบแนวเวนคืนใน 21 จังหวัดฟรี ที่นี่ 

  1. พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

คล้ายกับการตรวจสอบแนวเวนคืน ในแต่ละพื้นที่อาจมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่จะกำหนดว่าห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท เช่น พื้นที่รอบท่าอากาศยานจะมีข้อกำหนดว่าในระยะใกล้ๆ เช่น ระยะ 300 เมตรจากแนวเขตที่ดินของสนามบินไม่สามารถสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ห้องแถวหรือตึกแถว เป็นต้น ในขณะที่ระยะที่ไกลออกไปก็จะปรับข้อกำหนดต่าง ๆ กันไป ก่อนการซื้อที่ดินจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ตามที่เราวางแผนไว้ Feasy ได้รวบรวมพื้นที่ห้ามก่อสร้าง 21 จังหวัดไว้เพื่อให้คุณตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้น

พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

 สมัครสมาชิก ตรวจสอบพื้นที่ห้ามก่อสร้างใน 21 จังหวัดฟรี ที่นี่ 

เมื่อเราเห็นศักยภาพของที่ดิน และต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจ ซื้อ-ขายที่ดิน ต้องตรวจสอบ จากการคัดโฉนด ที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งคุณจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่

  1. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่

  1. การจดจำนอง (ถ้ามี)

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะแสดงข้อมูลนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่ดินนั้น หากติดจำนองกับธนาคารอยู่ก็จะสามารถตรวจสอบได้

  1. การรอนสิทธิ์

ได้แก่ ภาระจำยอม สัญญาเช่า ที่ดินใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อมูลค่า ราคาที่ดิน เพราะทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นั่นเอง

  1. หากที่ดินของคุณอยู่ในพื้นที่หมิ่นเหม่
    เช่น อาจครอบคลุมสีผังเมือง 2 สี หรืออยู่ใกล้กับแนวเวนคืนมาก ทำให้คุณไม่มั่นใจว่าที่ดินอยู่ในแนวเขตสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างใด ก็ควรส่งเอกสารตรวจสอบกับกรมที่ดินเพื่อความมั่นใจ
  2. ตรวจสอบว่าโฉนดเป็นของจริงหรือไม่

ในบางกรณีเจ้าของที่ดินอาจนำโฉนดที่ดินฉบับที่ถูกที่ถูกยกเลิกแล้วมาขาย หากเราซื้อที่ดินผืนนั้นไปอาจไม่ได้ตามที่ตกลงไว้ จึงต้องตรวจสอบว่าโฉนดที่ดินในมือเป็นของจริงหรือปลอม

  1. ที่ดินถูกอายัด
    หากที่ดินถูกอายัด จะไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินได้ คือ ไม่สามารถซื้อ ขาย โอนที่ดินได้ สามารถตรวจสอบได้จากกรมที่ดิน
  2. เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
    เช่น การพิจารณาเพิกถอนโฉนด อยู่ระหว่างการแก้ไขรายการจดทะเบียนสิทธิ หรือ อยู่ระหว่างการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน เป็นต้น เพราะจะมีผลต่อที่ดินนั้นโดนตรง ควรตรวจสอบและติดตามการดำเนินการต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จ

       ก่อนซื้อ-เช่าที่ดินมีหลายข้อที่ต้องตรวจสอบให้มั่นใจ จะได้ไม่โดนหลอก ทำให้เราสามารถพัฒนาพื้นที่ได้เต็มศักยภาพของที่ดิน Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ มีเป้าหมายที่จะช่วยนักลงทุนอสังหาฯ ลดความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน เราจึงพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์นายหน้า เจ้าของที่ดิน นักลงทุนทั้งรายเล็กและรายใหญ่ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

สมัครใช้งานฟรี! ตรวจสอบสีผังเมือง ราคาที่ดิน แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างทันที

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY
https://line.me/R/ti/p/%40732vokrq

ที่ดิน, ซื้อที่ดิน, ราคาที่ดิน, ผังเมือง, แนวเวนคืน, พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/content/detail/1201

ราคาที่ดินไม่ได้ขึ้นอยู่กับทำเลอย่างเดียว! เช็ครูปร่าง ขนาด ทางเข้าออกที่ดินให้ดีก่อนซื้อ-ขาย

พูดถึงเรื่องราคาที่ดิน หลายคนอาจเคยได้ยินว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ คือ Location Location Location หรือก็คือ ทำเลที่ตั้งที่ดิน นั่นเอง อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่น ๆ ก็มีผลต่อมูลค่าราคาอสังหาริมทรัพย์ เช่นที่ดินทำเลเดียวกันแต่มีขนาด รูปร่าง และทางเข้า-ออก ต่างกันก็ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคาร และราคาที่ดินอย่างมาก

            ถึงแม้ว่าที่ดินจะตั้งอยู่ใกล้กัน แต่มูลค่าที่ดินอาจไม่เท่ากัน เพราะมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินของเราตั้งอยู่บน ถนนกรุงเกษม ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพงซึ่งมีราคาตลาด 120,000 บาท/ตร.วา เพียง 200-300 เมตร แต่ที่ดินของเราตั้งอยู่บนถนนสายรอง ไม่ได้ติดกับสถานีรถไฟฟ้า อีกทั้งยังไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ได้่แก่ รูปร่าง ขนาด และทางเข้า-ออกของที่ดิน ซึ่งส่งผลให้มูลค่าราคาที่ดินของเราน่าจะต่ำกว่าราคาที่ดินบริเวณสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพงนั่นเอง

            ก่อนที่จะตั้งราคาขายที่ดิน ต่อราคา หรือ ซื้อที่ดินเราจึงควรวิเคราะห์ศักยภาพของที่ดินก่อนว่าเหมาะสมกับราคาหรือไม่ หากที่ดินรูปร่างไม่สวย หรือขนาดใหญ่เกินไป บางครั้งการตัดแบ่งที่ดินขาย หรือ การรวมที่ดินขายเพื่อให้ได้แปลงที่สวย เหมาะกับการพัฒนาอาคารนั้นจะทำให้ได้ขายที่ดินได้ในราคาที่ดีกว่า Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ จะยกตัวอย่างรูปร่างที่ดินทีี่เหมาะสม ใน 3 ปัจจัยที่นอกเหนือจากทำเลที่ตั้ง ได้แก่

  1. ขนาดที่ดิน ส่งผลกับ ราคาที่ดิน

            ขนาดของที่ดินมีผลอย่างมากในการพัฒนาอาคารแต่ละประเภท โดยเฉพาะสำหรับคนที่สนใจขายที่ดินให้นักพัฒนาอสังหาฯ สำหรับพัฒนาคอนโดมิเนียม หรือ โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ หากที่ดินขนาดใหญ่เกินไปก็ใช่ว่าจะขายออก หรือ ขายได้ราคาดีเสมอไปเพราะนักพัฒนาอสังหาฯ ที่จะซื้อที่ดินไปพัฒนาต่อจำเป็นต้องมีเงินลงทุนสูง หรือ ต้องแบ่งเฟส (phrase) การพัฒนา จึงต้องมีสายป่านที่ยาวเพียงพอ

            หากที่ดินขนาดเล็กเกินไปก็อาจพัฒนาโครงการได้ไม่คุ้มทุน เนื่องจากขนาดอาคารเล็กตามระยะร่นของเขตทาง เช่น ที่ดินที่ขนาดเล็กและยาว เป็นรูปร่างเส้นก๋วยเตี๋ยว มีหน้ากว้างแคบขนาดเล็ก เมื่อร่นระยะตามกฎหมายอาคารแล้วอาจไม่เหลือพื้นที่พัฒนาอาคาร ต้องรวมแปลงกับที่ดินรอบข้างให้ได้ขนาดใหญ่ขึ้นแทน

  1. รูปร่างที่ดิน

            รูปร่างที่ดินที่พัฒนาอาคารง่าย ใช้พื้นที่ได้เต็มที่ คุ้มค่ากับราคาที่ดิน คือ รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหน้ากว้างติดถนนถนน ขนาดพอเหมาะทำให้มีพื้นที่สำหรับระยะร่นรอบอาคารได้ และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับระยะร่นด้านหน้า ที่ดินรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าจึงพัฒนาโครงการได้ง่าย สำหรับคนที่ต้องการขายที่ดินให้นักพัฒนาอสังหาฯ ทำคอนโดมิเนียม ที่ดินควรมีหน้ากว้างอย่างน้อย 12 เมตร เพราะตามกฎกระทรวง 33 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นไม่เกิน 30,000 ตร.ม. ต้องมีด้านในด้านหนึ่งของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร อีกทั้งอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษจะต้องมีที่ว่างรอบอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตรอีกด้วย เพื่อเป็นถนนที่มีพื้นผิวจราจรให้รถดับเพลิงเข้าออกได้สะดวก ถ้าที่ดินหน้ากว้างแค่ 12 เมตรก็ทำได้เพียงทางเข้าโครงการเท่านั้น

            หากที่ดินมีรูปร่างแปลก นอกจากจะพัฒนาอาคารยากแล้ว คนซื้ออาจดูหลักฮวงจุุ้ยของรูปร่างที่ดินประกอบการตัดสินใจอีกด้วย อาจทำให้ราคาที่ดินต่ำลง เช่น ที่ดินรูปร่างสามเหลี่ยมก็จะมีมุมทำให้พัฒนาอาคารได้รูปร่างแปลก พัฒนาได้ยาก เป็นต้น

ดูเพิ่มเติม ฮวงจุ้ยซื้อที่ดิน ที่ดินแบบไหนน่าซื้อ แบบไหนห้ามซื้อ

  1. ทางเข้าออก

            ทางเข้าออกที่ดินต้องติดถนนสาธารณะเพราะทำให้สามารถเข้าออกได้สะดวก ถูกกฎหมาย และสามารถพัฒนาโครงการได้ ถนนสาธารณะ คือ ถนนที่เปิดหรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไปหรือใช้เป็นทางสัญจรได้ (จากกฎกระทรวงฉบับที่ 33) ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่ หากเป็นที่ดินตาบอด (ที่ดินที่ไม่มีทางเข้าออก) ถึงแม้จะอยู่ในทำเลดีก็จะมีราคาที่ดินต่ำ เพราะไม่มีศักยภาพพัฒนาอาคารได้นั่นเอง นักพัฒนาอสังหาฯ อาจต้องซื้อที่ดินข้างๆ เพื่อเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะเพื่อให้สามารถพัฒนาที่ดินผืนดังกล่าวได้ หรือ หากเป็นที่ดินติดถนนส่วนบุคคล ก็อาจจะมีปัญหาภายหลังหากเจ้าของถนนปิดการใช้งานขึ้นมา

            บางคนอาจจะคิดว่า ถ้าที่ดินติดถนนหลายด้านจะเป็นเรื่องดี แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะหากเป็นที่ดินแปลงมุม ติดถนน 2 ด้าน ที่ดินจะต้องมีหน้ากว้างมาก จากกฏกระทรวงฉบับที่ 7 ข้อ 8 แนวศูนย์กลางปากทางเข้าออกของรถยนต์ต้องห่างจากจุดเริ่มต้น โครงหรือหักมุมของขอบทางร่วมหรือขอบทางแยกสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 20 เมตร หมายความว่าที่ดินต้องมีหน้ากว้างมากกว่า 20 เมตรแน่นอน มิเช่นนั้นจะไม่มีทางเข้าออก

อ่านเพิ่มเติม ที่ดินตาบอดจะขอทางจำเป็น หรือ ภาระจำยอมอย่างไร

            จะเห็นว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าราคาที่ดินของเรา ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ดินที่แปลงติดกันก็อาจจะมีศักยภาพต่างกัน ทำให้ราคาต่างกันได้อีกด้วย ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจตั้งราคาขาย หรือซื้อที่ดินสักผิืน จึงต้องหาข้อมูลและวิเคราะห์ให้ดีก่อน Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ต้องการช่วยนักลงทุนอสังหาฯ และเจ้าของที่ดินทั้งหลายให้ทำงานได้ง่ายขึ้น หาข้อมูลและวิเคราะห์ศักยภาพได้ด้วยตัวเอง เราจึงพัฒนาฟีเจอร์การตรวจสอบข้อมูลอสังหาฯ บนแผนที่ ได้แก่ สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง ราคาตลาดที่ดินที่ได้รับการประเมินโดย ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทัรพย์ บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ให้คุณเข้าถึงและวิเคราะห์ศักยภาพ ง่าย ครบ จบในที่
เดียวไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY https://line.me/R/ti/p/%40732vokrq

ราคาที่ดิน
แนวเวนคืน
พื้นที่ห้ามก่อสร้าง
ความรู้อสังหาฯ.
กฎหมายอสังหาฯ
ตลาดอสังหาฯ
กลยุทธ์การลงทุน.
อสังหา 101
มุมมองนักลงทุน
ที่ดิน
ผังเมือง
นักพัฒนาอสังหาฯ

อ้างอิงบทความ : http://feasyonline.com/content/detail/1198

ราคาที่ดินเท่าไหร่? จะรู้ได้อย่างไร? by feasyonline.com

ราคาที่ดินเท่าไหร่? จะรู้ได้อย่างไร? มูลค่าที่ดินของคุณขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ทำเลที่ตั้ง ระยะห่างจากสถานที่สำคัญ ทางเข้าออก รูปร่างที่ดิน รวมถึงข้อจำกัดทางด้านกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อศักยภาพในการพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้เราสามารถเปรียบเทียบราคาตลาดของที่ดิน เพื่อทำความเข้าใจถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละทำเล

ก่อนอื่นเลย ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ราคาที่ดิน ราคาตลาด ราคาประเมิน และราคาซื้อขาย ต่างกันอย่างไร?

ราคาที่เราจะใช้เปรียบเทียบเพื่อทำความเข้าใจถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่ คือ ราคาตลาดที่ดิน ที่เกิดจากการประเมินมูลค่าตลาดของที่ดินในแต่ละทำเล โดย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ลงพื้นที่ประเมินราคาตลาดในทุกๆ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ด้วยการตั้งสมมุติฐานการประเมินราคาที่ดินแปลงมาตรฐาน ที่มีรูปร่างปกติสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดถนน มีทางเข้าออกตามกฎหมาย และแบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ 4, 16 และ 36 ไร่ เพื่อเป็นดัชนี้ชี้วัดราคาตลาดที่ดินในแต่ละทำเล ว่าแตกต่างกันเท่าไหร่ ราคาตลาดที่ดินนี้สะท้อนให้เห็นมูลค่าที่ดินในแต่ละทำเล เช่น ราคาที่ดินใกล้รถไฟฟ้าสยามสแควร์ในปี พ.ศ. 2561 มีราคาสูงถึง 2.5 ล้านบาทต่อตารางวา เพิ่มขึ้น 13.6% จากปีก่อนหน้า ส่วนที่ดินใกล้รถไฟฟ้าสายสีม่วงสถานีเตาปูนมีราคา 320,000 บาทต่อตารางวา เพิ่มขึ้น 6.7% จากปีก่อนหน้า

ปัจจุบัน AREA ประเมินราคาตลาดที่ดินกว่า 400 ทำเลในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งเมืองสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ชลบุรี พัทยา ภูเก็ต ศรีราชา ระยอง วงศ์อมาตย์ บางแสน จอมเทียน บางเสร่ เป็นต้น ทำให้ทุกคนสามารถดูข้อมูลราคาที่ดิน และอัตราการเติบโตต่อปีได้ง่าย ๆ บนแผนที่ออนไลน์ บนเว็บไซต์ www.feasyonline.com (เฉพาะแพคเกจ Premium และ Team)

อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงแทนราคาที่ดินของคุณที่อยู่ในทำเลใกล้เคียงได้ เนื่องจากราคาตลาดที่ดินแต่ละแปลงจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ รูปร่างที่ดิน ความกว้างถนนหน้าที่ดิน ทำเลที่ตั้ง ระยะห่างจากสถานที่สำคัญ รวมถึงข้อจำกัดทางด้านกฎหมายต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนาที่ดินนั้น ๆ ดังนั้น เราจึงแนะนำให้คุณใช้ราคาตลาดที่ดินนี้เพื่อเปรียบเทียบมูลค่าที่ดินในแต่ละทำเล

ดูราคาที่ดินบนแผนที่ออนไลน์ สำหรับแพคเกจ Premium และ Plan

สมัครสมาชิก ที่นี่ http://feasyonline.com/member/register

ราคาที่ดิน, ราคาตลาดที่ดิน ,feasyonline ,ที่ดิน ,เช็คราคาที่ดิน

บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/serviceDetail/servicelandprice

9 ข้อต้องรู้ก่อนซื้อที่ดิน ก่อนถูกหลอกขาย by FEASY

ราคาที่ดินก็แพงขึ้นเรื่อย ๆ จะซื้อทั้งทีต้องลงทุนเยอะ แต่สภาพคล่องต่ำ ก่อนจะซื้อที่ดินสักแปลงเราจึงต้องตรวจสอบศักยภาพของที่ดินก่อนว่าคุ้มค่ากับราคาหรือไม่ เพราะบางครั้งที่ดินที่เรามองว่าสวย ทำเลดี อาจไม่ได้มีมูลค่ามากอย่างที่ตั้งราคาขายไว้ หรือ ที่ดินบางที่อาจจะดูไม่ดีนักแต่เราสามารถนำไปพัฒนาให้มีมูลค่าสูงได้ เพราะเป็นที่ดินที่มีศักยภาพสูงนั่นเอง วันนี้ Feasy โปรแกรมวางแผนการลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จะมาสรุปสิ่งที่เราต้องเช็คก่อนซื้อที่ดิน จะได้ไม่พลาดนั่นเอง

  1. ตำแหน่งที่ดิน

อย่างแรกที่เราต้องตรวจสอบคือ ตำแหน่งและรูปร่างของที่ดิน วิธีการตรวจสอบ ได้แก่ การดูขอบเขตที่ดินผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน ดูลักษณะที่ดินผ่าน Google maps หรือการลงพื้นที่ไปสำรวจที่ดินด้วยตัวเอง ไม่ว่าอย่างไรก็ตามคุณต้องรู้ตำแหน่งที่ถูกต้อง และ รูปร่างที่ดิน ซึ่งมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคาร เพราะรูปร่างที่ดินที่มีมุมมาก หรือ แคบจนเกินไป ก็จะพัฒนาอาคารได้ยาก

  1. ทางเข้าออก ติดถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล

ขั้นตอนต่อไปเราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินของเรามีทางเข้าออกถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้อาจดูด้วยตาเปล่าอย่างเดียวไม่ได้ ต้องตรวจสอบเขตทางผ่านเว็บไซต์ของราชการ เพราะ ที่ดินบางทำเลอาจดูเหมือนมีทางเข้าออกทีรถและคนสามารถใช้ได้แต่ตามกฎหมายถนนนั้นเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ทำให้เราไม่มีสิทธิใช้ได้ เป็นต้น หากที่ดินของเราติดถนน เราต้องตรวจสอบด้วยว่าเป็นถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล เพราะมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารเช่นกัน

  1. สีผังเมือง บอกศักยภาพการพัฒนาอาคาร และประเภทอาคารที่สร้างได้

สีผังเมืองในแต่ละพื้นที่จะแต่งต่างกัน เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง แต่ละพื้นที่จึงมีศักยภาพในการพัฒนาอาคารต่างกันนั่นเอง ที่ดินใจกลางเมือง หรือที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามักจะมีศักยภาพตามสีผังเมืองที่สูงกว่าที่ดินเขตนอกเมือง หมายความว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ขนาดใหญ่กว่าแม้มีที่ดินขนาดเท่ากัน และสามารถพัฒนาอาคารประเภทพาณิชยกรรมได้โดยมีเงื่อนไขน้อยกว่า เช่น หากเราม่ีที่ดินขนาด 2 ไร่

กรณีที่ 1

ที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.3 ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม มี FAR 7 และ OSR 4.5% จะพัฒนาอาคารได้สูงสุด 22,400 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคารเพียง 144 ตร.ม. จากพื้นที่ดิน 1,600 ตร.ม. และสามารถพัฒนาอาคารได้หลากหลายประเภท

กรณีที่ 2

ที่ดินตั้งอยู่ห่างออกไปเพียง  10 เมตร แต่ไปตกอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย FAR 2.5  และ OSR 12.5% จะสามารถพัฒนาอาคารได้สูงสุด 4,000 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคาร 400 ตร.ม. เท่ากับว่าพัฒนาอาคารได้ขนาดเล็กลง อีกทั้งยังไม่สามารถมารถพัฒนาอาคารบางประเภท หรือ ต้องพัฒนาภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น สร้างอาคารพานิชยกรรมขนาดตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไปไม่ได้ เป็นต้น

จาก 2 กรณีข้างต้นจะเห็นว่า ศักยภาพการพัฒนาของที่ดินจะต่างกันอย่างมากหากอยู่บนพื้นที่สีผังเมืองคนละสีกัน แม้ที่ตั้งจะห่างกันเพียงเล็กน้อยก็ตาม หากคุณต้องการตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมือง 21 จังหวัดพร้อมระบุข้อมูล FAR, OSR มาไว้บนแผนที่
สมัครสมาชิก ตรวจสอบสีผังเมืองฟรี ที่นี่

ดูเพิ่มเติม
อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) คืออะไร? อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) คืออะไร?

  1. การเวนคืนที่ผ่านและในอนาคต

ก่อนซื้อที่ดินควรตรวจสอบว่าจะมีการเวนคืนที่ส่งผลกระทบกับที่ดินของเราหรือไม่ Feasy ได้รวบรวมข้อมูลแนวเวนคืนใน 21 จังหวัด และลิงค์เอกสารราชการมาไว้บนแผนที่เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ
สมััครสมาชิก ตรวจสอบแนวเวนคืนฟรี ที่นี่

  1. พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

คล้ายกับการตรวจสอบแนวเวนคืน ในแต่ละพื้นที่อาจมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่จะกำหนดว่าห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท เช่น พื้นที่รอบท่าอากาศยานจะมีข้อกำหนดว่าในระยะใกล้ๆ เช่น ระยะ 300 เมตรจากแนวเขตที่ดินของสนามบินไม่สามารถสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ห้องแถวหรือตึกแถว เป็นต้น ในขณะที่ระยะที่ไกลออกไปก็จะปรับข้อกำหนดต่าง ๆ กันไป ก่อนการซื้อที่ดินจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ตามที่เราวางแผนไว้ Feasy ได้รวบรวมพื้นที่ห้ามก่อสร้าง 21 จังหวัดไว้เพื่อให้คุณตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้น

สมััครสมาชิก ตรวจสอบพื้นที่ห้ามก่อสร้างฟรี ที่นี่

     เมื่อเราเห็นศักยภาพของที่ดิน และต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจ ซื้อ-ขายที่ดิน ต้องตรวจสอบ จากการคัดโฉนด ที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งคุณจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่

  1. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่

  1. การจดจำนอง (ถ้ามี)

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะแสดงข้อมูลนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่ดินนั้น หากติดจำนองกับธนาคารอยู่ก็จะสามารถตรวจสอบได้

  1. การรอนสิทธิ

ได้แก่ ภาระจำยอม สัญญาเช่า ที่ดินใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อมูลค่า ราคาทีดิน เพราะทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม การรอนสิทธิ คืออะไร? เจ้าของที่ดิน ผู้จะซื้อ-เช่าที่ดินต้องรู้
 

  1. หากที่ดินของคุณอยู่ในพื้นที่หมิ่นเหม่
    เช่น อาจครอบคลุมสีผังเมือง 2 สี หรืออยู่ใกล้กับแนวเวนคืนมาก ทำให้คุณไม่มั่นใจว่าที่ดินอยู่ในแนวเขตสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างใด ก็ควรส่งเอกสารตรวจสอบกับกรมที่ดินเพื่อความมั่นใจ

     ก่อนซื้อ-เช่าที่ดินมีหลายข้อที่ต้องตรวจสอบให้มั่นใจ จะได้ไม่โดนหลอก ทำให้เราสามารถพัฒนาพื้นที่ได้เต็มศักยภาพของที่ดิน Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ มีเป้าหมายที่จะช่วยนักลงทุนอสังหาฯ ลดความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน เราจึงพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์นายหน้า เจ้าของที่ดิน นักลงทุนทั้งรายเล็กและรายใหญ่ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

สมัครใช้งานฟรี! ตรวจสอบสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างทันที
 


ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY 
คลิกที่ลิงก์ https://lin.ee/mPnJRzG

#ที่ดิน #ผังเมือง #ราคาที่ดิน #แนวเวนคืน #พื้นที่ห้ามก่อสร้าง #ความรู้อสังหาฯ.
#กลยุทธ์การลงทุน.#อสังหา 101

บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/content/detail/1190