วิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่าย ๆ จะมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินก็เช็คได้

ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ของคุณได้ทันที
ราคาประเมิน
ความรู้อสังหาฯ
กฎหมายอสังหาฯ
อสังหา 101
ที่ดิน
ราคาที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1187

ตรวจสอบราคาที่ดิน ราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ราคาที่ดิน ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ราคาที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ราคาที่ดิน ของคุณได้ทันที

ราคาที่ดิน
ความรู้อสังหาฯ
กฎหมายอสังหาฯ
อสังหา 101
ที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1187/

FAR อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน คืออะไร?

กฎหมายผังเมืองจะมีข้อกำหนดพื้นที่อาคารที่สร้างได้ FAR และ OSR ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารในแต่ละพื้นที่ ต่อให้เป็นที่ดินที่อยู่ติดกันแต่อยู่คนละผังสี มีค่า FAR และ OSR ต่างกันก็ทำให้พื้นที่ของอาคารที่พัฒนาได้ต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนซื้อ-ขายที่ดินจะต้องตรวจสอบสีผังเมือง ประเภทอาคารสร้างได้ และค่า FAR OSR เพราะหากที่ดินของคุณสามารถสร้างอาคารได้พื้นที่มากขึ้น ก็มีโอกาสที่ราคาที่ดินจะสูงขึ้นอีกด้วย

FAR คืออะไร?

FAR (Floor to Area Ratio) คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน เป็นตัวกำหนดว่าจะสามารถสร้างอาคารได้ขนาดเท่าไหร่ โดยมีวิธีคำนวณคือ

พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  =  ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดิน

ตัวอย่าง ที่ดินขนาด 2 ไร่ (3,200 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 19,200 ตารางเมตร

OSR คืออะไร?

OSR (Open Space Ratio) คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม เป็นตัวกำหนดว่าต้องเหลือพื้นที่ว่างบนพื้นดินเท่าไหร่ ส่งผลต่อขนาดอาคารเช่นเดียวกัน โดยมีวิธีการคำนวณ คือ

พื้นที่เปิดโล่งบนที่ดิน= ค่า OSR xพื้นที่ดิน

ตัวอย่าง ที่ดินขนาด 2 ไร่ (3,200 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด OSR = 5% เท่ากับว่า จะต้องมีพื้นที่เปิดโล่งบนที่ดินโดยไม่มีหลังคาคลุม 5% x 3,200 = 160 ตารางเมตร หมายความว่าต้องเว้นที่ว่างไว้ ไม่ใช้ก่อสร้างอาคาร 160 ตารางเมตรนั่นเอง

หากว่าที่ดินหลายแปลงตั้งอยู่บนพืื้นที่สีผังเมืองคนละสี ก็จะมีศักยภาพการพัฒนาอาคารต่างกัน เนื่องจาก FAR ส่งผลต่อพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และ OSR ส่งผลต่อพื้นที่เปิดโล่งบนพื้นดิน ยิ่งเป็นพื้นที่พานิชยกรรม สีแดง สีส้ม สีน้ำตาล ก็สามารถสร้างอาคารได้ขนาดใหญ่กว่า และมีพื้นที่เปิดโล่งบนที่ดินน้อยกว่าพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม อย่างพื้นที่สีเขียว เป็นต้น

สีผังเมืองสีเขียว FAR OSR
สีผังเมืองสีเหลือง FAR OSR
สีผังเมืองสีแดง FAR OSR

วิธีตรวจสอบค่า FAR OSR ง่ายๆ 

            เราสามารถตรวจสอบค่า FAR OSR ตามสีผังเมืองได้ง่าย ๆ บนเว็บไซต์ Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ที่เปิดให้สมัครสมาชิกใช้งานฟรี แค่จิ้มบนแผนที่ก็สามารถตรวจสอบสีผังเมืองได้แล้ว โดยปัจจุบันเราได้รวบรวมข้อมูลสีผังเมืองจำนวน 21 จังหวัด พร้อมข้อมูล FAR OSR มาแสดงบนแผนที่แล้ว

ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

นอกจากนี้ คุณสามารถสร้าง “รายงานศักยภาพการลงทุน” เพื่อดูผลการวิเคราะห์ศักยภาพที่ดินของคุณในคลิกเดียว ได้แก่ สีผังเมือง FAR OSR ราคาตลาดที่ดินรอบข้าง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการคำนวณค่าเช่าที่ดินที่เหมาะสม เป็นต้น
ดูตัวอย่าง “รายงานศักยภาพการลงทุน” ได้ที่นี่

ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

#ความรู้อสังหาฯ
#กฎหมายอสังหาฯ
#อสังหา 101 
#ที่ดิน 
#FAR 
#ผังเมือง

ที่มา : https://www.feasyonline.com/content/detail/1202/#FAR

ที่ดินมูลค่าสูงแต่ราคาต่ำ? มูลค่า (Market Value) ต่างจาก ราคา (Price) อย่างไร? by feasyonline.com

บางครั้งที่ดิน อสังหาฯ หรือทรัพย์สินบางอย่างอาจมีมูลค่าตลาด (Market Value)และ ราคา (Price) ที่แตกต่างกันอย่างมาก เช่น นาฬิกาหรูรุ่นลิมิเต็ดอาจมีราคาขายต่ำเมื่อต้องไปจำนองในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี หรือ ที่ดินตาบอดอาจมีราคาสูงเมื่อไปรวมแปลงกับที่ดินอื่นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนา ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า มูลค่า(Market Value) ต่างจาก ราคา (Price)อย่างไร?

          มูลค่าตลาด (Market Value) คือ จำนวนเงินประมาณการที่ผู้ซื้อและผู้ขายยอมรับที่จะทำการแลกเปลี่ยนอย่างยุติธรรม ภายในช่วงเวลานั้น ๆ นี่เป็นคำจัดกัดความที่สรุปและแปลมาจาก the International Valuation Standards Committee (IVSC) ระบุไว้ว่า Market Value คือ “the estimated amount for which an asset should exchange on the date of valuation between a willing buyer and a willing seller in an arm-length transaction, after proper marketing, wherein the parties had each acted knowledgeably, prudently and without compulsion” ซึ่งสามารถตีความได้ดังนี้:
    1) “the estimated amount” หรือ จำนวนเงินประมาณการ เพราะในการประเมินค่าทรัพย์สินอาจไม่สามารถระบุได้ชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อเป็นความเห็นทางวิชาชีพ อาจแตกต่างกันได้ตามมุมมองของผู้ประเมินแต่ละคน อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรแตกต่างจนมีนัยสำคัญ ไม่เช่นนั้นอาจเป็นความผิดพลาดในการให้ความเห็นแล้ว
    2) “should exchange on the date of valuation” ถือว่าควรจะซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนได้ ณ วันที่ประเมินค่า เพราะในอนาคตมูลค่าตลาดอาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อีกครึ่งปีข้างหน้ามีประกาศว่าจะเกิดการพัฒนารถไฟฟ้าผ่านพื้นที่ดังกล่าว มูลค่าของที่ดินก็อาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก
    3) “arm-length transaction” ภายใต้เงื่อนไขธรรมชาติการซื้อขายที่เป็นธรรม คือ มีความตรงไป-ตรงมา มีเวลาตัดสินใจเพียงพอ (ก่อนวันประเมิน) กอปรด้วยความรอบรู้ในทรัพย์สินนั้นของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และไม่ถูกกดดันหรือถูกบังคับให้ซื้อขายทรัพย์สิน

            ราคา (Price) คือ จำนวนเงินที่ใช้สำหรับเสนอหรือจ่ายสำหรับสินค้าและบริการ ราคาเป็นตัวเลขจริง แต่ราคานั้นอาจจะไม่มีความสัมพันธ์กับ มูลค่าตลาด (Market Value) ก็ได้ เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่งมีมูลค่าตลาดประมาณ 10,000 บาท แต่ในยามจำเป็นต้องขาย อาจขายเพียง 3,000 บาทเท่านั้น

ที่ดิน หรือ อสังหาฯ มูลค่าสูง แต่ขายได้ราคาต่ำ?

บางครั้งเจ้าของที่ดิน หรือ อสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ เช่น คอนโด บ้าน อาคารพานิชย์จะตั้งราคาขายเอาไว้สูงเพราะคิดว่าเราลงทุนพัฒนา ปรับปรุงพื้นที่ หรือ ตกแต่งห้องใหม่ไปตั้งเยอะ ต้องขายได้ในราคาสูงสิ แต่ในความเป็นจริงมูลค่าตลาดอาจสูง หรือ ต่ำกว่าที่เราคาดหวัง เช่น เราต้องการขายบ้านพร้อมที่ิดินขนาด 60 ตร.วา 2 ชั้น 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ที่อยู่อาศัยมาได้ 10 ปี มีการรื้อและปรับปรุงใหม่หลายครั้งให้ตรงกับความต้องการของเราทำให้เสียเงินไปเป็นจำนวนมาก เราจึงคิดว่าควรประกาศขายที่ราคา  10 ล้านบาท ทั้งที่บ้านขนาดเดียว คุณภาพใกล้เคียงกันในทำเลรอบข้างซื้อขายกันอยู่ที่ 5 ล้านบาท หากคิดอย่างนี้แสดงว่าราคาที่เราคิดไว้ สูงกว่ามูลค่าตลาดแน่ ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะขายไม่ออก หากมีคนสนใจดีไซน์ของบ้านที่คุณปรับปรุงมากจริง ๆ ก็อาจจะตัดสินใจซื้อในราคาใกล้เคียงกับที่คุณประกาศขายก็ได้

ที่ดิน หรือ อสังหาฯ มูลค่าต่ำ แต่ขายได้ราคาสูง?

            ในขณะเดียวกัน คุณอาจเป็นเจ้าของที่ดินตาบอดใจกลางเมืองและกำลังกลุ้มใจว่าที่ดินของคุณมีมูลค่าต่ำ เพราะไม่มีทางเข้าออกทำให้ไม่สามารถพัฒนาโครงการและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ แต่มีผู้ประกอบการอสังหาฯ สนใจซื้อที่ดินของคุณ เมื่อคุณไปสืบพบว่าผู้ประกอบการได้ซื้อที่ดินแปลงเล็ก ๆ ซึ่งติดกับแปลงที่ดินของคุณเพื่อเป็นทางเข้าจากถนนหลัก ทำให้สามารถพัฒนาโครงการบนที่ดินของคุณได้ จากที่ดินตาบอดมูลค่าต่ำกลายเป็นขายได้ในราคาสูง เพราะอยู่ใจกลางเมืองและมีทางเข้าออกทำให้สามารถพัฒนาอาคารสูงได้ คุณก็สามารถต่อรองราคาขายที่ดินให้สูงขึ้นได้

          จะเห็นว่ามูลค่าตลาด (Market Value) กับ ราคา (Price) ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ราคาสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อไดหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากเราเข้าใจว่ามูลค่าทรัพย์สินของเราควรจะเป็นเท่าไหร่ เราก็จะสามารถตั้งราคาขายที่สอดคล้องกันได้ ไม่ขายแพงจนหาคนซื้อยาก หรือ ขายถูกจนขาดทุนนั่นเอง

ถ้าหากคุณอยากรู้มูลค่าตลาดของอสังหาริมทรัพย์ของคุณ เพื่อการซื้อขาย ลงทุน หรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ควรจะติดต่อนักประเมินมืออาชีพ ที่นี่

มูลค่าตลาด, Market Value, ที่ดิน #ความรู้อสังหาฯ. #อสังหา 101 #ที่ดิน

เว็บอ้างอิง : https://feasyonline.com/content/detail/1180

FAR Bonus เงื่อนไข 8 ข้อ เพิ่มพื้นที่อาคาร ตามกฎหมายผังเมืองใหม่ by feasyonline.com

FAR Bonus คือ มาตรการส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) ทำให้นักพัฒนาอสังหาฯ สามารถสร้างอาคารให้มีพื้นที่มากขึ้น เพิ่มมูลค่าของโครงการได้นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อสนับสนุนรูปแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เอื้อประโยชน์ต่อส่วนรวม ด้วยการสนับสนุนนักพัฒนาอสังหาฯ โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ เพราะหากนักพัฒนาอสังหาฯ ต้องลงทุนค่าก่อสร้างเพิ่มเพื่อพัฒนาพื้นที่รองรับน้ำ หรือ พื้นที่สีเขียวก็จะต้องแบกรับต้นทุนและความเสี่ยงในการลงทุนอยู่ฝ่ายเดียว มาตรการนี้จึงเอื้อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายนั่นเอง ทั้งนี้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปัจจุบัน และร่างผังเมืองใหม่ ได้มีการกำหนดเงื่อนไขการพัฒนาที่จะช่วยให้สามารถเพิ่ม FAR Bonus ได้ ดังนี้

FAR Bonus ตามผังเมืองปัจจุบัน

กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 มีเงื่อนไขสำหรับการเพิ่ม FAR Bonus ดังนี้

  1. พัฒนาที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่าท้องตลาด (Affordable Housing)
    การจัดให้มีหรือพัฒนาที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้อยู่อาศัยเดิมภายในพื้นที่โครงการ โดยพื้นที่อาคารรวมที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกินสี่เท่าของพื้นที่ที่จัดให้เป็นที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อย ที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำกว่าท้องตลาด หรือที่อยู่อาศัยสําหรับผู้อยู่อาศัยเดิมภายในพื้นที่โครงการ
  1. พื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ
    การจัดให้มีพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ โดยพื้นที่อาคารรวมที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกินห้าเท่าของพื้นที่โล่งเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะที่จัดให้มีขึ้น
  1. ที่จอดรถยนต์สำหรับประชาชนทั่วไปรอบสถานีรถไฟฟ้า
    การจัดให้มีที่จอดรถยนต์สําหรับประชาชนทั่วไปในบริเวณพื้นที่ภายในระยะ 500 เมตรโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีอ่อนนุช สถานีลาดกระบัง สถานีหัวหมาก สถานีบางบําหรุ สถานีตลิ่งชัน สถานีอุดมสุข และสถานีแบริ่ง โดยพื้นที่อาคารรวมที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกิน 30 ตารางเมตรต?อที่จอดรถยนต?ที่เพิ่มขึ้น 1 คัน

    แต่ในร่างผังเมืองใหม่ มีมาตรการลดหย่อนจำนวนที่จอดรถยนต์ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร ทำให้สามารลดจำนวนที่จอดรถขั้นต่ำลงได้ 25% สำหรับอาคารที่ตั้งอยู่ในะยะ 500 เมตร โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หรือ 800 เมตรโดยรอบสถานีร่วมตามที่กำหนด

    สถานีร่วม* คือ สถานีเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง (Interchange station) ได้แก่ สถานีสยาม หรือ อโศก ที่เชื่อมการเดินทางระหว่าง 2 เส้นรถไฟฟ้าก็จะได้รับการลดหย่อนมากกว่านั่นเอง ดังภาพ
  1. พื้นที่รับน้ำหรือที่กักเก็บน้ำ
    การจัดให้มีพื้นที่รับน้ำในแปลงที่ดินในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร ต่อพื้นที่ดิน 50 ตารางเมตร ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินได้ไม่เกินร้อยละห้า ถ้าสามารถกักเก็บน้ําได้มากกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ตามสัดส่วน แต่ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบ
  1. อาคารประหยัดพลังงาน
    การจัดให้มีอาคารประหยัดพลังงาน โดยให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ดังต่อไปนี้
    1. อาคารที่ได้รับการรับรองระดับที่ 1 ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 5
    2. อาคารที่ได้รับการรับรองระดับที่ 2 ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 10
    3. อาคารที่ได้รับการรับรองระดับที่ 3 ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 15
    4. อาคารที่ได้รับการรับรองระดับที่ 4 ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 20
FAR Bonus ผังเมืองกรุงเทพ

FAR Bonus ตามร่างผังเมืองใหม่
ในร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ มีมาตรการส่งเสริมการพัฒนา (Incentive Measure) สำหรับ FAR Bonus เพิ่มเติมมาดังนี้

  1. พื้นที่ว่างเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ สวนสาธารณะริมน้ำ
    มาตรการนี้สนับสนุนให้เกิดพื้นที่สาธารณะริมน้ำ โดยพื้นที่ว่างเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ สวนสาธารณะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ลำคลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะตามที่กำหนด ให้มีพื้นที่อาคารรวม เพิ่มขึ้น 8 เท่าของพื้นที่ว่างเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ สวนสาธารณะที่จัดให้มีขึ้น
  1. การจัดให้มีพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทั่วไปรอบสถานีรถไฟฟ้า
    มาตรการนี้จะสนับสนุนให้คนที่เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะสามารถเชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีรถไฟฟ้าไปยังระบบอื่น ๆ เช่น รถเมล์ วินมอเตอร์ไซค์ และ อื่นๆ ได้อย่างสะดวก โดยโครงการที่จัดให้มีพื้นที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทั่วไปในบริเวณที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจรของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ภายในระยะ 200 เมตรจากบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ให้มีพื้นที่อาคารรวมเพิ่มขึ้น 5 เท่าของพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การเดินทาง
  1. การจัดให้มีพื้นที่สำหรับใช้เป็นสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุ
    มาตราการนี้ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สำหรับใช้เป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ สถานดูแลผู้สูงอายุในอาคารอยู่อาศัยและสำนักงาน โดยโครงการที่จัดให้มีสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางวัน ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยประเภทอาคารอยู่อาศัย หรือ อาคารสำนักงาน ให้มีพื้นที่อาคารรวมเพิ่มขึ้น 8 เท่าของพื้นที่ที่จัดให้มีสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ สถานดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางวันFAR Bonus ผังเมืองกรุงเทพ      จะเห็นว่ามีเงื่อนไขการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เอื้อต่อการรับประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเพิ่ม FAR Bonus หลายเงื่อนไขเลยทีเดียว ช่วยให้นักพัฒนาอสังหาฯ ตัดสินใจพัฒนาโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้โดยไม่ต้องแบกรับต้นทุนและความเสี่ยงสูง ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาอาคารสีเขียว จากเดิมที่อาจมีน้อย ถึงแม้ผู้บริโภคจะสนใจอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อน แต่เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนค่าก่อสร้างทำให้นักพัฒนาอสังหาฯ หลายรายไม่มั่นใจในการพัฒนาโครงการ ตอนนี้อาจหันมาสนใจมากขึ้น เพราะได้รับประโยชน์จากการมีพื้นที่อาคารมากขึ้นตาม FAR Bonus ทำให้สามารถสร้างรายได้มากขึ้น เก็บค่าเช่าหรือตั้งราคาขายได้สูงขึ้นเพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาเป็นอาคารประหยัดพลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้อีกด้วยนอกจากมาตรการ FAR Bonus แล้วยังมีมาตรการใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย คือ มาตรการโอนสิทธิ์การพัฒนา (Transfer Development Right: TDR)เป็นการโอนสิทธิ์การพัฒนาจากที่ดินบริเวณหนึ่งไปยังที่ดินบริเวณอื่นได้ ตรวจสอบ FAR ตามข้อกำหนดสีผังเมืองปัจจุบัน และผังเมืองใหม่ได้ง่าย ๆ ด้วย Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯสมัครใช้งานฟรี

#FAR #ผังเมือง #นักพัฒนาอสังหาฯ #ความรู้อสังหาฯ #กฎหมายอสังหาฯ 

เว็บไซต์อ้างอิง : http://feasyonline.com/content/detail/1194

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่าย ๆ จะมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินก็เช็คได้ by feasyonline

ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ของคุณได้ทันที



ข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY 
#ความรู้อสังหาฯ.#กฎหมายอสังหาฯ#อสังหา 101#ที่ดิน#ราคาที่ดิน

ราคาประเมินที่ดิน, โฉนด #ความรู้อสังหาฯ #กฎหมายอสังหาฯ#อสังหา 101#ที่ดิน#ราคาที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : http://feasyonline.com/content/detail/1187

วิธีตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ เช็ค FAR OSR by FEASY

ทำไมต้องรู้สีผังเมืองของตัวเอง?

สีผังเมือง หรือ ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นผังที่แบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ออกเป็นประเภทต่าง ๆ หากเรามีที่ดิน หรือ บ้านอยู่ในทำเลใด ควรจะตรวจสอบสีผังเมืองเพื่อให้ทราบถึงศักยภาพการพัฒนา ซึ่งส่งผลต่อราคาที่ดินของคุณ โดยสีผังเมืองจะบอกว่าอาคารประเภทใดบ้างที่พัฒนาได้ มี อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) และอัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) เท่าไหร่? หากที่ดินของเราอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาสูง มีค่า FAR มากสามารถสร้างอาคารได้ขนาดใหญ่ขึ้น ก็ส่งผลให้ที่ดินของเรามีมูลค่ามากขึ้นนั่นเอง

ในแต่ละจังหวัดหรือขอบเขตพื้นที่ปกครองจะมีข้อกำหนดสีผังเมืองต่างกัน หากเราและเพื่อนมีที่ดินขนาด 2 ไร่เท่ากัน อยู่ ห่างกันเพียง 500 เมตร ก็อาจมีศักยภาพการพัฒนาต่างกัน ทำให้ราคาที่ดินต่างกันมาก เช่น เมื่อตรวจสอบสีผังเมืองแล้วพบว่าที่ดินของเพื่อนอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.5 (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) มี FAR 7 และ OSR 4.5% แสดงว่าถ้าเพื่อนสามารถสร้างอาคารได้เต็มศักยภาพ FAR จะสร้างได้ 22,400 ตร.ม.

แต่ที่ดินของเราอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) มี FAR 2.5 และ OSR 12.5% เท่ากับว่าเราสร้างอาคารตาม FAR ได้เพียง 8,000 ตร.ม. ต่างกันถึง  14,400 ตร.ม. ถ้าเราจะชายที่ดินให้นักพัฒนา ก็เป็นไปได้ว่าผู้ซื้อจะสนใจที่ดินของเพื่อนมากกว่า และสามารถเรียกราคาที่ดินได้สูงกว่า

สีผังเมือง FAR OSR

วิธีตรวจสอบสีผังเมืองด้วยตัวเองง่าย ๆ

การตรวจสอบสีผังเมืองด้วยง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพียงคุณเข้าใช้งานเว็บไซต์ FEASY ฟรี! โดยมีวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ 2 วิธี คือ

  1. ดูข้อมูลบนแผนที่แค่ จิ้ม!
    • เลือกแถบ dropdown จังหวัด และพื้นที่สีผังเมือง
      เพื่อเลือกว่าคุณจะดูพื้นที่ให้ทำเลไหน แล้วซูมเข้าไปในพื้นที่ที่คุณต้องการเพื่อดูสีผังเมือง ในรูปตัวอย่าง จะเลือกจังหวัดกรุงเทพมหานคร และผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครปัจจุบัน หรือ ร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่
    • คลิกบนแผนที่เพื่อดูค่า FAR, OSR
      คลิกบนพื้นที่สีชมพูเพื่อดูข้อมูลสีผังเมือง ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน FAR OSR ของแต่ละพื้นที่ โดยที่คุณสามารถซูมเข้าออก และปรับระดับความโปร่งใสของสีผังเมืองบนแผนที่เพื่อความแม่นยำในการวิเคราะห์
ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

คุณสามารถดูผังสีตามจังหวัด และทำเลที่คุณต้องการเพียงค้นหาในระบบ ขณะนี้ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมืองทั้งหมด 21 จังหวัด ได้แก่

  • สีผังเมืองกรุงเทพมหานคร
  • สีผังเมืองสมุทรปราการ
  • สีผังเมืองปทุมธานี
  • สีผังเมืองพระนครศรีอยุธยา
  • สีผังเมืองEEC (ชลบุรี, ระยอง, ฉะเชิงเทรา)
  • สีผังเมืองชลบุรี
  • สีผังเมืองระยอง
  • สีผังเมืองฉะเชิงเทรา
  • สีผังเมืองนครราชสีมา
  • สีผังเมืองขอนแก่น
  • สีผังเมืองอุดรธานี
  • สีผังเมืองมหาสารคาม
  • สีผังเมืองเชียงใหม่
  • สีผังเมืองนครปฐม
  • สีผังเมืองสมุทรสาคร
  • สีผังเมืองเพชรบุรี
  • สีผังเมืองประจวบคีรีขันธ์
  • สีผังเมืองภูเก็ต
  • สีผังเมืองสงขลา
  1. ดูข้อมูลสีผังเมืองแบบละเอียดขึ้น ด้วยรายงานศักยภาพที่ดิน
    หลังจากที่คุณ “เพิ่มที่ดิน” แล้ว Feasy จะสร้างรายงานศักยภาพพื้นที่ให้คุณทันที หนึ่งในข้อมูลที่คุณจะได้รับ คือ ข้อมูลสีผังเมือง ตามพิกัดที่ดินของคุณ ได้แก่ สีผังเมือง ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค่า FAR OSR และรายการสรุปประเภทที่อยู่อาศัยที่สามารถพัฒนาได้พร้อมเงื่อนไขการพัฒนา ซึ่ง FEASY ได้ทำการสรุปมาจาก สรุปข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมของแต่ละจังหวัด
ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

หากคุณมีที่ดินในมือ ไม่ว่าจะเป็นการรับมรดก ซื้อที่ดิน ขายที่ดิน หรือ เช่าที่ดิน Feasy แนะนำให้คุณหาข้อมูลวิเคราะห์ศักยภาพให้ดี เพื่อที่จะได้รู้มูลค่า ราคาที่ดินที่เหมาะสม Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จึงรวบรวมข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องใช้ในการทำความเข้าใจถึงศักยภาพ ให้คุณวางแผนการลงทุนได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

สมัครใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลอสังหาฯ เช็คสีผังเมืองได้ง่าย ๆ ทันที


ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY https://line.me/R/ti/p/%40732vokrq

สีผังเมือง FAR OSR ความรู้อสังหาฯ ที่ดิน FAR ราคาที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : http://feasyonline.com/content/detail/1207

ราคาที่ดินไม่ได้ขึ้นอยู่กับทำเลอย่างเดียว! เช็ครูปร่าง ขนาด ทางเข้าออกที่ดินให้ดีก่อนซื้อ-ขาย

พูดถึงเรื่องราคาที่ดิน หลายคนอาจเคยได้ยินว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ คือ Location Location Location หรือก็คือ ทำเลที่ตั้งที่ดิน นั่นเอง อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่น ๆ ก็มีผลต่อมูลค่าราคาอสังหาริมทรัพย์ เช่นที่ดินทำเลเดียวกันแต่มีขนาด รูปร่าง และทางเข้า-ออก ต่างกันก็ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคาร และราคาที่ดินอย่างมาก

            ถึงแม้ว่าที่ดินจะตั้งอยู่ใกล้กัน แต่มูลค่าที่ดินอาจไม่เท่ากัน เพราะมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินของเราตั้งอยู่บน ถนนกรุงเกษม ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพงซึ่งมีราคาตลาด 120,000 บาท/ตร.วา เพียง 200-300 เมตร แต่ที่ดินของเราตั้งอยู่บนถนนสายรอง ไม่ได้ติดกับสถานีรถไฟฟ้า อีกทั้งยังไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ได้่แก่ รูปร่าง ขนาด และทางเข้า-ออกของที่ดิน ซึ่งส่งผลให้มูลค่าราคาที่ดินของเราน่าจะต่ำกว่าราคาที่ดินบริเวณสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพงนั่นเอง

            ก่อนที่จะตั้งราคาขายที่ดิน ต่อราคา หรือ ซื้อที่ดินเราจึงควรวิเคราะห์ศักยภาพของที่ดินก่อนว่าเหมาะสมกับราคาหรือไม่ หากที่ดินรูปร่างไม่สวย หรือขนาดใหญ่เกินไป บางครั้งการตัดแบ่งที่ดินขาย หรือ การรวมที่ดินขายเพื่อให้ได้แปลงที่สวย เหมาะกับการพัฒนาอาคารนั้นจะทำให้ได้ขายที่ดินได้ในราคาที่ดีกว่า Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ จะยกตัวอย่างรูปร่างที่ดินทีี่เหมาะสม ใน 3 ปัจจัยที่นอกเหนือจากทำเลที่ตั้ง ได้แก่

  1. ขนาดที่ดิน ส่งผลกับ ราคาที่ดิน

            ขนาดของที่ดินมีผลอย่างมากในการพัฒนาอาคารแต่ละประเภท โดยเฉพาะสำหรับคนที่สนใจขายที่ดินให้นักพัฒนาอสังหาฯ สำหรับพัฒนาคอนโดมิเนียม หรือ โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ หากที่ดินขนาดใหญ่เกินไปก็ใช่ว่าจะขายออก หรือ ขายได้ราคาดีเสมอไปเพราะนักพัฒนาอสังหาฯ ที่จะซื้อที่ดินไปพัฒนาต่อจำเป็นต้องมีเงินลงทุนสูง หรือ ต้องแบ่งเฟส (phrase) การพัฒนา จึงต้องมีสายป่านที่ยาวเพียงพอ

            หากที่ดินขนาดเล็กเกินไปก็อาจพัฒนาโครงการได้ไม่คุ้มทุน เนื่องจากขนาดอาคารเล็กตามระยะร่นของเขตทาง เช่น ที่ดินที่ขนาดเล็กและยาว เป็นรูปร่างเส้นก๋วยเตี๋ยว มีหน้ากว้างแคบขนาดเล็ก เมื่อร่นระยะตามกฎหมายอาคารแล้วอาจไม่เหลือพื้นที่พัฒนาอาคาร ต้องรวมแปลงกับที่ดินรอบข้างให้ได้ขนาดใหญ่ขึ้นแทน

  1. รูปร่างที่ดิน

            รูปร่างที่ดินที่พัฒนาอาคารง่าย ใช้พื้นที่ได้เต็มที่ คุ้มค่ากับราคาที่ดิน คือ รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหน้ากว้างติดถนนถนน ขนาดพอเหมาะทำให้มีพื้นที่สำหรับระยะร่นรอบอาคารได้ และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับระยะร่นด้านหน้า ที่ดินรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าจึงพัฒนาโครงการได้ง่าย สำหรับคนที่ต้องการขายที่ดินให้นักพัฒนาอสังหาฯ ทำคอนโดมิเนียม ที่ดินควรมีหน้ากว้างอย่างน้อย 12 เมตร เพราะตามกฎกระทรวง 33 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นไม่เกิน 30,000 ตร.ม. ต้องมีด้านในด้านหนึ่งของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร อีกทั้งอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษจะต้องมีที่ว่างรอบอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตรอีกด้วย เพื่อเป็นถนนที่มีพื้นผิวจราจรให้รถดับเพลิงเข้าออกได้สะดวก ถ้าที่ดินหน้ากว้างแค่ 12 เมตรก็ทำได้เพียงทางเข้าโครงการเท่านั้น

            หากที่ดินมีรูปร่างแปลก นอกจากจะพัฒนาอาคารยากแล้ว คนซื้ออาจดูหลักฮวงจุุ้ยของรูปร่างที่ดินประกอบการตัดสินใจอีกด้วย อาจทำให้ราคาที่ดินต่ำลง เช่น ที่ดินรูปร่างสามเหลี่ยมก็จะมีมุมทำให้พัฒนาอาคารได้รูปร่างแปลก พัฒนาได้ยาก เป็นต้น

ดูเพิ่มเติม ฮวงจุ้ยซื้อที่ดิน ที่ดินแบบไหนน่าซื้อ แบบไหนห้ามซื้อ

  1. ทางเข้าออก

            ทางเข้าออกที่ดินต้องติดถนนสาธารณะเพราะทำให้สามารถเข้าออกได้สะดวก ถูกกฎหมาย และสามารถพัฒนาโครงการได้ ถนนสาธารณะ คือ ถนนที่เปิดหรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไปหรือใช้เป็นทางสัญจรได้ (จากกฎกระทรวงฉบับที่ 33) ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่ หากเป็นที่ดินตาบอด (ที่ดินที่ไม่มีทางเข้าออก) ถึงแม้จะอยู่ในทำเลดีก็จะมีราคาที่ดินต่ำ เพราะไม่มีศักยภาพพัฒนาอาคารได้นั่นเอง นักพัฒนาอสังหาฯ อาจต้องซื้อที่ดินข้างๆ เพื่อเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะเพื่อให้สามารถพัฒนาที่ดินผืนดังกล่าวได้ หรือ หากเป็นที่ดินติดถนนส่วนบุคคล ก็อาจจะมีปัญหาภายหลังหากเจ้าของถนนปิดการใช้งานขึ้นมา

            บางคนอาจจะคิดว่า ถ้าที่ดินติดถนนหลายด้านจะเป็นเรื่องดี แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะหากเป็นที่ดินแปลงมุม ติดถนน 2 ด้าน ที่ดินจะต้องมีหน้ากว้างมาก จากกฏกระทรวงฉบับที่ 7 ข้อ 8 แนวศูนย์กลางปากทางเข้าออกของรถยนต์ต้องห่างจากจุดเริ่มต้น โครงหรือหักมุมของขอบทางร่วมหรือขอบทางแยกสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 20 เมตร หมายความว่าที่ดินต้องมีหน้ากว้างมากกว่า 20 เมตรแน่นอน มิเช่นนั้นจะไม่มีทางเข้าออก

อ่านเพิ่มเติม ที่ดินตาบอดจะขอทางจำเป็น หรือ ภาระจำยอมอย่างไร

            จะเห็นว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าราคาที่ดินของเรา ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ดินที่แปลงติดกันก็อาจจะมีศักยภาพต่างกัน ทำให้ราคาต่างกันได้อีกด้วย ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจตั้งราคาขาย หรือซื้อที่ดินสักผิืน จึงต้องหาข้อมูลและวิเคราะห์ให้ดีก่อน Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ต้องการช่วยนักลงทุนอสังหาฯ และเจ้าของที่ดินทั้งหลายให้ทำงานได้ง่ายขึ้น หาข้อมูลและวิเคราะห์ศักยภาพได้ด้วยตัวเอง เราจึงพัฒนาฟีเจอร์การตรวจสอบข้อมูลอสังหาฯ บนแผนที่ ได้แก่ สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง ราคาตลาดที่ดินที่ได้รับการประเมินโดย ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทัรพย์ บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ให้คุณเข้าถึงและวิเคราะห์ศักยภาพ ง่าย ครบ จบในที่
เดียวไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY https://line.me/R/ti/p/%40732vokrq

ราคาที่ดิน
แนวเวนคืน
พื้นที่ห้ามก่อสร้าง
ความรู้อสังหาฯ.
กฎหมายอสังหาฯ
ตลาดอสังหาฯ
กลยุทธ์การลงทุน.
อสังหา 101
มุมมองนักลงทุน
ที่ดิน
ผังเมือง
นักพัฒนาอสังหาฯ

อ้างอิงบทความ : http://feasyonline.com/content/detail/1198

FAR Bonus เงื่อนไข 8 ข้อ เพิ่มพื้นที่อาคาร ตามกฎหมายผังเมืองใหม่ by feasyonline

FAR Bonus คือ มาตรการส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) ทำให้นักพัฒนาอสังหาฯ สามารถสร้างอาคารให้มีพื้นที่มากขึ้น เพิ่มมูลค่าของโครงการได้นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อสนับสนุนรูปแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เอื้อประโยชน์ต่อส่วนรวม ด้วยการสนับสนุนนักพัฒนาอสังหาฯ โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ เพราะหากนักพัฒนาอสังหาฯ ต้องลงทุนค่าก่อสร้างเพิ่มเพื่อพัฒนาพื้นที่รองรับน้ำ หรือ พื้นที่สีเขียวก็จะต้องแบกรับต้นทุนและความเสี่ยงในการลงทุนอยู่ฝ่ายเดียว มาตรการนี้จึงเอื้อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายนั่นเอง ทั้งนี้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปัจจุบัน และร่างผังเมืองใหม่ ได้มีการกำหนดเงื่อนไขการพัฒนาที่จะช่วยให้สามารถเพิ่ม FAR Bonus ได้ ดังนี้

FAR Bonus ตามผังเมืองปัจจุบัน

กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 มีเงื่อนไขสำหรับการเพิ่ม FAR Bonus ดังนี้

  1. พัฒนาที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่าท้องตลาด (Affordable Housing)
    การจัดให้มีหรือพัฒนาที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้อยู่อาศัยเดิมภายในพื้นที่โครงการ โดยพื้นที่อาคารรวมที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกินสี่เท่าของพื้นที่ที่จัดให้เป็นที่อยู่อาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อย ที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำกว่าท้องตลาด หรือที่อยู่อาศัยสําหรับผู้อยู่อาศัยเดิมภายในพื้นที่โครงการ
  1. พื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ
    การจัดให้มีพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ โดยพื้นที่อาคารรวมที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกินห้าเท่าของพื้นที่โล่งเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะที่จัดให้มีขึ้น
  1. ที่จอดรถยนต์สำหรับประชาชนทั่วไปรอบสถานีรถไฟฟ้า
    การจัดให้มีที่จอดรถยนต์สําหรับประชาชนทั่วไปในบริเวณพื้นที่ภายในระยะ 500 เมตรโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีอ่อนนุช สถานีลาดกระบัง สถานีหัวหมาก สถานีบางบําหรุ สถานีตลิ่งชัน สถานีอุดมสุข และสถานีแบริ่ง โดยพื้นที่อาคารรวมที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกิน 30 ตารางเมตรต?อที่จอดรถยนต?ที่เพิ่มขึ้น 1 คัน

    แต่ในร่างผังเมืองใหม่ มีมาตรการลดหย่อนจำนวนที่จอดรถยนต์ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร ทำให้สามารลดจำนวนที่จอดรถขั้นต่ำลงได้ 25% สำหรับอาคารที่ตั้งอยู่ในะยะ 500 เมตร โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หรือ 800 เมตรโดยรอบสถานีร่วมตามที่กำหนด

    สถานีร่วม* คือ สถานีเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง (Interchange station) ได้แก่ สถานีสยาม หรือ อโศก ที่เชื่อมการเดินทางระหว่าง 2 เส้นรถไฟฟ้าก็จะได้รับการลดหย่อนมากกว่านั่นเอง ดังภาพ
  1. พื้นที่รับน้ำหรือที่กักเก็บน้ำ
    การจัดให้มีพื้นที่รับน้ำในแปลงที่ดินในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร ต่อพื้นที่ดิน 50 ตารางเมตร ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินได้ไม่เกินร้อยละห้า ถ้าสามารถกักเก็บน้ําได้มากกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ตามสัดส่วน แต่ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบ
  1. อาคารประหยัดพลังงาน
    การจัดให้มีอาคารประหยัดพลังงาน โดยให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ดังต่อไปนี้
    1. อาคารที่ได้รับการรับรองระดับที่ 1 ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 5
    2. อาคารที่ได้รับการรับรองระดับที่ 2 ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 10
    3. อาคารที่ได้รับการรับรองระดับที่ 3 ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 15
    4. อาคารที่ได้รับการรับรองระดับที่ 4 ให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 20

FAR Bonus ตามร่างผังเมืองใหม่
ในร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ มีมาตรการส่งเสริมการพัฒนา (Incentive Measure) สำหรับ FAR Bonus เพิ่มเติมมาดังนี้

  1. พื้นที่ว่างเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ สวนสาธารณะริมน้ำ
    มาตรการนี้สนับสนุนให้เกิดพื้นที่สาธารณะริมน้ำ โดยพื้นที่ว่างเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ สวนสาธารณะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ลำคลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะตามที่กำหนด ให้มีพื้นที่อาคารรวม เพิ่มขึ้น 8 เท่าของพื้นที่ว่างเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ สวนสาธารณะที่จัดให้มีขึ้น
  1. การจัดให้มีพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทั่วไปรอบสถานีรถไฟฟ้า
    มาตรการนี้จะสนับสนุนให้คนที่เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะสามารถเชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีรถไฟฟ้าไปยังระบบอื่น ๆ เช่น รถเมล์ วินมอเตอร์ไซค์ และ อื่นๆ ได้อย่างสะดวก โดยโครงการที่จัดให้มีพื้นที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทั่วไปในบริเวณที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจรของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ภายในระยะ 200 เมตรจากบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ให้มีพื้นที่อาคารรวมเพิ่มขึ้น 5 เท่าของพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การเดินทาง
  1. การจัดให้มีพื้นที่สำหรับใช้เป็นสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุ
    มาตราการนี้ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สำหรับใช้เป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ สถานดูแลผู้สูงอายุในอาคารอยู่อาศัยและสำนักงาน โดยโครงการที่จัดให้มีสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางวัน ในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยประเภทอาคารอยู่อาศัย หรือ อาคารสำนักงาน ให้มีพื้นที่อาคารรวมเพิ่มขึ้น 8 เท่าของพื้นที่ที่จัดให้มีสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ สถานดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางวัน

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY
https://line.me/R/ti/p/%40732vokrq

FAR Bonus กฎหมายผังเมือง #ความรู้อสังหาฯ. #กฎหมายอสังหาฯ #FAR

บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/content/detail/1194

การประเมินค่าทรัพย์สิน ทำอย่างไร นักพัฒนาอสังหาฯ และเจ้าของที่ดินต้องรู้

การกำหนด มูลค่าตลาด (Matket Value) ของทรัพย์สินนั้นต้องอาศัยวิธีการประเมินค่าทรัพย์สินที่ต่างกัน ขึ้นอยู่ กับรูปแบบของทรัพย์สิน และวัตถุประสงค์ของการประเมิน โดยมีวิธีการประเมินหลักๆ 6 วิธีดังนี้

  1. วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)
  2. วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)
  3. วิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)
  4. วิธีวิเคราะห์กระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Analysis)
  5. วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach)
  6. วิธีการประเมินโดยสร้างแบบจำลองทางสถิติ (Modelling for Mass Appraisal)
    หรือ นำวิธีต่าง ๆ ข้างต้นมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อความเหมาะสม

1. วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)

วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน:

หลักการสำคัญของวิธีนี้คือ
 มูลค่า = ต้นทุนในการหาสิ่งอื่นที่เทียบเคียงมาทดแทน 
โดยวิธีการประเมิน คือ การประมาณการต้นทุนในการสร้างอาคารทดแทนตามราคาปัจจุบัน (Present Value) แล้วหักลบด้วยค่าเสื่อมราคา (ถ้ามี) บวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน ก็จะได้มูลค่าของทรัพย์สินนั้น

เหมาะกับ:
การประเมินอาคารประเภทโรงงาน และอาคารที่สร้างขึ้นเฉพาะ หาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นมาเทียบเคียงได้ยาก รวมทั้งการทำประกันอัคคีภัยเพราะต้องสร้างอาคารใหม่มาแทนที่

ตัวอย่าง:
ประเมินค่าโรงงานอายุ 10 ปีด้วยวิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน ถ้าจะต้องสร้างอาคารใหม่ในปัจจุบันจะต้องใช้เงิน 10 ล้านบาท หักค่าเสื่อม 20% (ปีละ 2% 10 ปี) ทำให้มูลค่าอาคารเหลือ 8 ล้านบาท เมื่อบวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน 10 ล้านบาท ก็เท่ากับว่ามูลค่าของที่ดินพร้อมโรงงานนี้คือ 18 ล้านบาท

2. วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)

วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน:

หลักการสำคัญของวิธีนี้คือ
มูลค่า = ราคาของทรัพย์สินเทียบเคียงที่คนอื่นขายได้
วิธีการประเมินนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้ที่สุดในการหามูลค่าตลาด (Market Value) ของทรัพย์สิน โดยวิธีการประเมิน คือ การหาทรัพย์สินที่มีลักษณะใกล้เคียง ในทำเลใกล้เคียง ที่มีการซื้อขายกัน มาวิเคราะห์เปรียบเทียบภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น คุณภาพอาคาร และขนาดที่ดิน เพื่อสรุปหามูลค่าของทรัพย์สินที่ประเมิน
ในการประเมินมูลค่าด้วยวิธีนี้ จะต้องให้ความสำคัญต่อการหาทรัพย์สินเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพราะ อาจมีการสร้างหลักฐานซื้อขายเท็จว่าบ้านทำในทำเลใกล้เคียงขายได้ในราคาสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้มูลค่าทรัพย์สินที่ได้มาจากการประเมินคลาดเคลื่อนได้ ผู้ประเมินจึงต้องหาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบมาประกอบการวิเคราะห์

เหมาะกับ:
การประเมินหามูลค่าตลาดสำหรับการซื้อ-ขาย และ การขอสินเชื่อ เป็นต้น

ตัวอย่าง:
ประเมินมูลค่าบ้านในโครงการจัดสรร 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำขนาด 130 ตร.ม. บนที่ดินขนาด 50 ตร.วา จะต้องหาข้อมูลการซื้อขายบ้านจัดสรรในทำเลใกล้เคียง ที่มีขนาดอาคาร จำนวนห้องนอน-ห้องน้ำ และขนาดที่ดินที่ใกล้เคียงกันประมาณ 5 แปลงมาวิเคราะห์เปรียบเทียบตลาดด้วยการเฉลี่ยเชิงคุณภาพหรือแบบถ่วงน้ำหนัก (WQS: Weight Quality Score) เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม

3. วิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)

วิธีการประเมิน:

มูลค่าวันนี้ = ผลรวมของรายได้สุทธิที่จะได้ในอนาคตจนสิ้นอายุขัย
การประเมินมูลค่าด้วยวิธีผลตอบแทนทางตรง (Direct Capitalization) เหมาะสำหรับทรัพย์สินที่สร้างรายได้ ยิ่งสร้างรายได้มาก มูลค่าของทรัพย์สินก็ยิ่งสูงขึ้น โดยมีวิธีการประเมิน ดังนี้
1. ประมาณการรายได้โดยพิจารณาจาก รายได้จริงที่ผ่านมาของทรัพย์สิน และการเปรียบเทียบตลาด
2. หักสัดส่วนการไม่ได้ใช่ประโยชน์ออก เช่น อัตราการเข้าพัก (Occupancy rate)
3. หักต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น ค่าบริหาร ภาษีอากร ประกัน ค่าบำรุงรักษา เป็นต้น เพื่อให้ได้รายได้สุทธิ
4. คำนวณหาผลรวมของรายได้สุทธิที่จะได้ในอนาคตจนสิ้นสุดอายุขัย โดยนำรายได้สุทธิมาเข้าสูตร
   V = I / R โดยที่ V คือ มูลค่าทรัพย์สิน, I คือ รายได้สุทธิ และ R คืออัตราผลตอบแทน
อัตราผลตอบแทน มักใช้อัตราขั้นต่ำที่เงินจะเติบโตโดยที่เงินทำงานให้เรา เช่น อัตราเงินฝากของสถาบันการเงิน หรือ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้เราไม่ประเมินมูลค่าไว้สูงเกินความเป็นจริงมากเกินไป


เหมาะกับ:
การประเมินค่าทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น อะพาร์ตเมนต์ หอพัก  หรือ เซอร์วิสอะพาร์ตเมนต์

ตัวอย่าง:
ประเมินมูลค่าอะพาร์ตเมนต์ 100 ห้องพัก ที่มีอัตราค่าเช่า 3,000 บาท/ห้อง/เดือน เท่ากับว่าจะมีรายได้ 3,600,000 บาท/ปี เมื่อหักสัดส่วนการไม่ได้ใช่ประโยชน์ออก คือ มีอัตราการเข้าพัก (Occupancy rate) 80% เท่ากับว่ามีรายได้จริง 2,880,000 บาท/ปี และหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายออกอีกประมาณ 30% ของรายได้จริง เหลือรายได้สุทธิเท่ากับ 2,016,000 บาท/ปี เมื่อคำนวณหามูลค่าด้วยสูตร V = I/R ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 5% ต่อปี มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินได้คือ 40,320,000 บาท

  1. วิธีวิเคราะห์กระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Analysis)


วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน:

วิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินมูลค่าด้วยวิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach) โดยที่รายได้และค่าใช้จ่ายของทรัพย์สินในอนาคตอาจเปลี่นแปลงขึ้น-ลงตามภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ หรือ เศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถใช้สูตร V = I/R ด้วยการแทนค่ารายได้รวมสุทธิจากการคูณรายได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น


เหมาะกับ:
การประเมินค่าทรัพย์สินที่รายได้-รายจ่ายผันผวนตามตลาดเศรษฐกิจ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน(Feasibility Study) สำหรับวางแผนพัฒนาคอนโดมิเนียม หรือ การประเมินค่าโรงแรม เป็นต้น

  1. วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach)

    วิธีการประเมิน:

 มูลค่าที่ดิน = มูลค่าโครงการ – ต้นทุนค่าก่อสร้าง – ต้นทุนอื่น ๆ 

วิธีนี้เป็นการประเมินค่าโดยสมมุติการพัฒนาที่เปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด (Highest and Best Use) ตามภาวะตลาดขณะนั้น โดยมีวิธีการประเมินคือ หามูลค่าโครงการที่เกิดจากการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดีีที่สุด แล้วหักค่าใช้จ่ายต้นทุนค่าก่อสร้าง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เหมาะกับ:
การประเมินค่าที่ดินเปล่า หรือ การพัฒนาโครงการใหม่บนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดีที่สุด

ตัวอย่าง:

การประเมินที่ดินขนาด 200 ตร.วา มีหน้ากว้าง 40 เมตร ลึก 20 เมตร เหมาะจะพัฒนาอาคารพานิชย์ขนาด 20 ตร.วา หน้ากว้าง 4 เมตรจำนวน 10 หน่วยเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด และขายในราคา 5 ล้านบาท/หน่วย เท่ากับว่า มูลค่าโครงการเท่ากับ 50 ล้านบาท ( อาคารพานิชย์ 5 หลัง x 10 ล้านบาท/หน่วย) หักต้นทุนค่าก่อสร้างอาคารละ 1 ล้านบาท รวม 10 ล้านบาท และหักต้นทุนค่าดำเนินการ 30% ของมูลค่าโครงการ เท่ากับ 15 ล้านบาท
มูลค่าที่ดิน = 50 – 10 -15 ล้านบาท
มูลค่าที่ดิน = 25 ล้านบาท หรือ 125,000 บาท/ตร.วา

  1. วิธีการประเมินโดยสร้างแบบจำลองทางสถิติ (Modeling for Mass Appraisal)

CAMA เป็นแขนงหนึ่งของการประเมินโดยวิธีเปรียบเทียบตลาด โดยใช้การสร้างแบบจำลองทางสถิติแบบ MRA (multiple regression analysis) มาช่วย ทั้งนี้ใช้มากในการประเมินเพื่อการเวนคืน จัดรูปที่ดิน โดยใช้ประเมินทรัพย์สินนับร้อยนับพันแปลงที่ตั้งอยู่ติดกัน โดยต้องวิเคราะห์ให้เห็นว่ามูลค่าขึ้นอยู่กับตัวแปรอะไร เช่น ในการประเมินมูลค่าที่ดิน ตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้แก่ หน้ากว้าง ขนาด การถมที่ ฯลฯ แล้วจึงนำค่าตัวแปรเหล่านี้ มาทำการวิเคราะห์โดยการสร้างแบบจำลองขึ้น บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เป็นผู้ใช้วิธีนี้ครั้งแรกในประเทศไทยในการศึกษาเพื่อการจัดรูปที่ดิน ตั้งแต่ปี 2533

  1. การนำวิธีต่าง ๆ ข้างต้นมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อความเหมาะสม
    ในหลายกรณี จะต้องอาศัยการประเมินหลายวิธีจึงจะประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราใช้วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach) แล้วพบว่าควรจะพัฒนาอาคารพานิชย์บนที่ดินดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด เราจะต้องใช้ วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach) เพื่อประเมินค่าอาคารพานิชย์ว่าควรจะตั้งราคาขายเท่าไหร่จึงจะสอดคล้องกับสภาวะตลาดในพื้นที่นั้น ๆ จากนั้นเราจึงจะคำนวณมูลค่าของที่ดินขึ้นมาได้ หากเราตั้งราคาอาคารพานิชย์สูงหรือต่ำเกินไปก็จะทำให้เราประเมินมูลค่าที่ดินออกมาคลาดเคลื่อนไป โดยเฉพาะในกรณีที่ทรัพย์สินมีมูลค่าสูง หรือ ซับซ้อนมาก อาจต้องใช้หลายวิธีมาประเมิน และต้องอาศัยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของผู้ประเมินในการพิจารณาสรุปความเห็นต่อมูลค่าทรัพย์สินที่สมควร

หากคุณต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สิน FEASY แนะนำให้เรียนหลักสูตรจากโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (TREBS) ได้แก่

หลักสูตร การประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ สัมฤทธิ์ผลใน 4 วัน (AP100)
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY 

* สำหรับสมาชิก FEASY แพคเกจ Premium และ Team รับส่วนลดพิเศษ 10%
สนใจรับการประเมินค่าทรัพย์สิน สามารถส่งข้อมูลเพื่อรับการปรึกษาได้ที่นี่
 

#ประเมินค่าทรัพย์สิน, #อสังหาฯ #ความรู้อสังหาฯ.#อสังหา 101#ที่ดิน#นักพัฒนาอสังหา

บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/content/detail/1135