เปิดรับโบรกเกอร์ขายบ้าน นายหน้าขายคอนโด ขั้นตอนการซื้อ-ขายบ้านระบบ Tooktee

ที่ไหนเปิดรับนายหน้าขายบ้าน นายหน้าอิสระ โบรกเกอร์บ้าน ขายคอนโด ขายอสังหาฯ
 

Tooktee.com คือ แพตฟอร์มด้านอสังหาฯ ที่รวบรวมทรัพย์ สำหรับคนที่ต้องการซื้อ-ขาย บ้าน คอนโด ทาวน์โฮม ทาวน์เฮาส์ โดยมีีฟีเจอร์พิเศษรองรับ นายหน้าขายบ้าน นายหน้าอิสระ โบรกเกอร์บ้าน ขายคอนโด ขายอสังหาฯ ที่ต้องการหาทรัพย์ไปขาย โดย Tooktee.com ได้ไปรวบรวมทรัพย์ดีลดีๆ มารองรับนายหน้าอสังหา ที่เป็นสมาชิก มีทีมงาน Support ข้อมูลโครงการให้กับท่าน เพื่อนำทรัพย์ไปเสนอลูกค้า

  • เปิดรับสมัครนายหน้าอิสระ ตัวแทนขายอสังหาฯ “ใครๆ ก็ขายได้ รับผลตอบแทน 3-12%” ขายทรัพย์ออนไลน์ 24 ชม. ง่าย ๆ เพียงหาลูกค้ามาซื้อโครงการ ในงาน Open house พร้อมบรรยายหัวข้อ “นายหน้าอสังหาฯ เงินล้าน”
  • วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2563 63 เวลา 13.00-16.00 น. (จำกัด 100 ที่นั่ง) ณ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย
  • ลงทะเบียนฟรี



ทำงานอิสระ ผลตอบเเทนหลักแสน  คอมมิชชั่นตั้งแต่ 3-12%* คุณก็ทำได้แค่แนะนำลูกค้ามาซื้อ ขายไม่เป็น เราสอนให้ฟรี เทคนิคการขายจากเซียนอสังหาฯ
 


ขั้นตอนการซื้อ-ขายบ้านผ่านนายหน้า ระบบ Tooktee 

  1. เลือกทรัพย์ในระบบ Tooktee.com และขอ Pre Approval ลูกค้า
    นายหน้าขายบ้านจะต้องเลือกทรัพย์ที่อยู่ในระบบ Tooktee เพื่อนำไปทำการตลาด ลงประกาศขายบ้านและคอนโด ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ หรือหาช่องทางขายโดยวิธีใดก็ตามขึ้นอยู่กับเทคนิคและเครือข่ายของนายหน้าแต่ละราย เมื่อเจอตัวผู้สนใจจะซื้อและอยากเข้าไปชมตัวบ้าน-คอนโดที่สถานที่จริง นายหน้าจะทำหน้าเฉพาะฝั่งคู่ขาย นัดหมายระหว่างผู้ซื้อเพื่อขอเข้าดูบ้าน โดยตัว Tooktee จะเป็นผู้ประสานงานฝั่งผู้ขายเพื่อนัดขอนัดวันและเวลากับทางโครงการ (กำหนดนัดหมาย ล่วงหน้า 1 วัน) เมื่อทางระบบ Tooktee ตอบรับการนัดหมาย นายหน้าก็จะพาลูกค้าที่สนใจไปชมทรัพย์ โดยหลักการนี้นายหน้าจะไม่ปวดหัวกับการจัดการ และอัพเดทสต๊อกของทรัพย์ที่อยู่ในมือเอง โดย Tooktee จะเป็นตัวแทนในการประสานงานกับผู้ขายให้ 

    *กรณีที่ลูกค้าไม่ได้เจอทรัพย์จากตลาดของเรา แต่มาทางคอนเนคชั่นหรือลูกค้าเก่า ที่มีจุดประสงค์ต้องการซื้อบ้าน อันดับแรกนายหน้าจะช่วยประเมินว่าคุณสามารถกู้เงินเพื่อซื้อบ้านได้เท่าไร และบ้านหรือคอนโดมือสอง มือหนึ่ง ราคาประมาณไหนเหมาะกับกำลังทรัพย์ของลูกค้า จากนั้น นายหน้าก็จะเลือกทรัพย์ที่นายหน้ามีอยู่ (ตรงนี้นายหน้ามีหน้าที่หาทรัพย์ดีๆ มาอยู่ในมือให้ได้จำนวนเยอะที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายและดึงดูดลูกค้า) **หากมีข้อสงสัยทางระบบมี admin ค่อยให้คำปรึกษาอยู่ตลอด

    หลักการในการเลือกทรัพย์ให้ได้อย่างใจ คือเราควรพิจารณาจากสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้ที่สุดก่อน เช่น ต้องอยู่ทำเลนี้เท่านั้น คอนโดต้องติดรถไฟฟ้า บ้านต้องมีอย่างน้อย 2 ห้องน้ำและจอดรถได้ 2 คัน เป็นต้น เพื่อตีกรอบให้แคบลง หลังจากนั้นค่อยพิจารณาปัจจัยที่สำคัญรองลงไป อาจจะไม่ได้จำเป็นแต่มีความชอบส่วนตัว เช่น มีครัวไทยแยก ห้องอาบน้ำมีอ่างอาบน้ำ บริเวณสวนกว้างขวาง เป็นต้น  
  2. ระหว่างที่นายหน้ากำลังเลือกทรัพย์ให้ตรงตามสเป็คที่ตั้งไว้ นายหน้าก็จะเริ่มเดินเรื่องขอ Pre Approval กับธนาคาร ให้ผู้ซื้อ หรืออธิบายได้ง่ายๆ ว่า คือการประเมินจากทางสถาบันการเงินว่าเรามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะกู้เงินเพื่อไปซื้อบ้านได้หรือเปล่า เมื่อการยื่น Pre-approval ผ่านแล้ว เราก็จะรู้ว่าธนาคารจะปล่อยกู้ให้สูงสุดได้เท่าไร ซึ่งนั่นก็คือราคาบ้านสูงสุดที่เราสามารถซื้อได้ จากนั้นก็นำราคานี้ไปประกอบการตัดสินใจเลือกทรัพย์ในขั้นสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง
     
  3. เสนอราคาและต่อรองราคา  เดินเรื่องขอกู้และเตรียมโอนอสังหาริมทรัพย์
    เมื่อลูกค้าเลือกแล้วว่าอยากซื้อบ้านหลังนี้ ซึ่งตรงนี้นายหน้าจะเป็นตัวกลางช่วยเจรจาต่อรองราคา เมื่อตกลงซื้อขายและวางมัดจำกับทางโครงการเสร็จเรียบร้อย ระบบTooktee จะช่วยเตรียมเอกสารประกอบการโอนทรัพย์และการจดจำนอง และประสานกับธนาคารเพื่อขอกู้เงินให้กับผู้ซื้อ ทางนายหน้า Tooktee ไม่ต้องทำขั้นตอนนี้
  4. จ่ายค่านายหน้า
    ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่การซื้อ-ขายบ้านผ่านนายหน้าเสร็จสิ้นแล้ว ก็คือการจ่ายค่านายหน้า ทางระบบจะระบุไว้ในระบบหลังบ้าน ชัดเจนก่อนขายว่าทรัพย์ที่คุณขายมีค่าคอมมิชชั่นเท่าไร ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยก็จะเป็นไป เงื่อนไขของระบบเลยคะ (ค่าคอมในระบบ Tooktee มีค่าคอมมิชชั่นเริ่มต้นที่ 3-12% *)  

ระบบนายหน้า Tooktee agent มีกิจกรรมเข้าชมโครงการ เพื่อเรียนรู้เทคนิคการขาย และรายละเอียดโครงการเด่นๆ ที่น่าขาย (สมาชิกไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ)

ได้รับการติวให้เป็นนายหน้าอย่างเข้มข้น ถึงแม้นไม่มีประสบการณ์ก็เป็นนายหน้าได้

หัวข้ออบรมแต่ละเดือน คอร์สพิเศษ เทคนิคการขายจากเซียนอสังหาฯ ทางลัดสู่ความสำเร็จจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญ ด้านนายหน้าอสังหาฯแนวหน้าของประเทศไทย คุณจะได้รับการติวอย่างเข้มข้น พร้อมปั้นยอดขายให้ทะลุเป้า 

สมาชิกนายหน้าอสังหาฯ (Tooktee Agent) ขายจริง ได้คอมจริง คุณขายได้รับค่าคอมไปเต็มๆ ในระบบจะแสดงค่าคอมในทรัพย์ทุกชิ้น เห็นเท่าไหร่ได้เท่านั้น ไม่ต้องแบ่งค่าคอม 50-50 กับใคร แต่คุณจะได้ 80%  คุณจะรู้ค่าคอมตั้งแต่ก่อนนำทรัพย์ไปเสนอลูกค้าว่า ขายได้จะได้เงินเท่าไหร่  สนใจเป็นสมัครเป็น agent กับเรา สอบถามผ่าน Line : http://line.me/ti/p/~@tooktee หรือ โทรศัพท์ : 0-2295-3905 ต่อ 125 

โบรกเกอร์บ้าน
นายหน้าขายคอนโด
นายหน้าขายบ้าน
อสังหาฯ
ขั้นตอนการซื้อ-ขายบ้าน

เว็บอ้างอิง : https://www.tooktee.com/contents/detail/2042

การประเมินค่าทรัพย์สิน ทำอย่างไร นักพัฒนาอสังหาฯ และเจ้าของที่ดินต้องรู้

การกำหนด มูลค่าตลาด (Matket Value) ของทรัพย์สินนั้นต้องอาศัยวิธีการประเมินค่าทรัพย์สินที่ต่างกัน ขึ้นอยู่ กับรูปแบบของทรัพย์สิน และวัตถุประสงค์ของการประเมิน โดยมีวิธีการประเมินหลักๆ 6 วิธีดังนี้

  1. วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)
  2. วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)
  3. วิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)
  4. วิธีวิเคราะห์กระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Analysis)
  5. วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach)
  6. วิธีการประเมินโดยสร้างแบบจำลองทางสถิติ (Modelling for Mass Appraisal)
    หรือ นำวิธีต่าง ๆ ข้างต้นมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อความเหมาะสม

1. วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)

วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน:

หลักการสำคัญของวิธีนี้คือ
 มูลค่า = ต้นทุนในการหาสิ่งอื่นที่เทียบเคียงมาทดแทน 
โดยวิธีการประเมิน คือ การประมาณการต้นทุนในการสร้างอาคารทดแทนตามราคาปัจจุบัน (Present Value) แล้วหักลบด้วยค่าเสื่อมราคา (ถ้ามี) บวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน ก็จะได้มูลค่าของทรัพย์สินนั้น

เหมาะกับ:
การประเมินอาคารประเภทโรงงาน และอาคารที่สร้างขึ้นเฉพาะ หาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นมาเทียบเคียงได้ยาก รวมทั้งการทำประกันอัคคีภัยเพราะต้องสร้างอาคารใหม่มาแทนที่

ตัวอย่าง:
ประเมินค่าโรงงานอายุ 10 ปีด้วยวิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน ถ้าจะต้องสร้างอาคารใหม่ในปัจจุบันจะต้องใช้เงิน 10 ล้านบาท หักค่าเสื่อม 20% (ปีละ 2% 10 ปี) ทำให้มูลค่าอาคารเหลือ 8 ล้านบาท เมื่อบวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน 10 ล้านบาท ก็เท่ากับว่ามูลค่าของที่ดินพร้อมโรงงานนี้คือ 18 ล้านบาท

2. วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)

วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน:

หลักการสำคัญของวิธีนี้คือ
มูลค่า = ราคาของทรัพย์สินเทียบเคียงที่คนอื่นขายได้
วิธีการประเมินนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้ที่สุดในการหามูลค่าตลาด (Market Value) ของทรัพย์สิน โดยวิธีการประเมิน คือ การหาทรัพย์สินที่มีลักษณะใกล้เคียง ในทำเลใกล้เคียง ที่มีการซื้อขายกัน มาวิเคราะห์เปรียบเทียบภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น คุณภาพอาคาร และขนาดที่ดิน เพื่อสรุปหามูลค่าของทรัพย์สินที่ประเมิน
ในการประเมินมูลค่าด้วยวิธีนี้ จะต้องให้ความสำคัญต่อการหาทรัพย์สินเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพราะ อาจมีการสร้างหลักฐานซื้อขายเท็จว่าบ้านทำในทำเลใกล้เคียงขายได้ในราคาสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้มูลค่าทรัพย์สินที่ได้มาจากการประเมินคลาดเคลื่อนได้ ผู้ประเมินจึงต้องหาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบมาประกอบการวิเคราะห์

เหมาะกับ:
การประเมินหามูลค่าตลาดสำหรับการซื้อ-ขาย และ การขอสินเชื่อ เป็นต้น

ตัวอย่าง:
ประเมินมูลค่าบ้านในโครงการจัดสรร 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำขนาด 130 ตร.ม. บนที่ดินขนาด 50 ตร.วา จะต้องหาข้อมูลการซื้อขายบ้านจัดสรรในทำเลใกล้เคียง ที่มีขนาดอาคาร จำนวนห้องนอน-ห้องน้ำ และขนาดที่ดินที่ใกล้เคียงกันประมาณ 5 แปลงมาวิเคราะห์เปรียบเทียบตลาดด้วยการเฉลี่ยเชิงคุณภาพหรือแบบถ่วงน้ำหนัก (WQS: Weight Quality Score) เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม

3. วิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)

วิธีการประเมิน:

มูลค่าวันนี้ = ผลรวมของรายได้สุทธิที่จะได้ในอนาคตจนสิ้นอายุขัย
การประเมินมูลค่าด้วยวิธีผลตอบแทนทางตรง (Direct Capitalization) เหมาะสำหรับทรัพย์สินที่สร้างรายได้ ยิ่งสร้างรายได้มาก มูลค่าของทรัพย์สินก็ยิ่งสูงขึ้น โดยมีวิธีการประเมิน ดังนี้
1. ประมาณการรายได้โดยพิจารณาจาก รายได้จริงที่ผ่านมาของทรัพย์สิน และการเปรียบเทียบตลาด
2. หักสัดส่วนการไม่ได้ใช่ประโยชน์ออก เช่น อัตราการเข้าพัก (Occupancy rate)
3. หักต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น ค่าบริหาร ภาษีอากร ประกัน ค่าบำรุงรักษา เป็นต้น เพื่อให้ได้รายได้สุทธิ
4. คำนวณหาผลรวมของรายได้สุทธิที่จะได้ในอนาคตจนสิ้นสุดอายุขัย โดยนำรายได้สุทธิมาเข้าสูตร
   V = I / R โดยที่ V คือ มูลค่าทรัพย์สิน, I คือ รายได้สุทธิ และ R คืออัตราผลตอบแทน
อัตราผลตอบแทน มักใช้อัตราขั้นต่ำที่เงินจะเติบโตโดยที่เงินทำงานให้เรา เช่น อัตราเงินฝากของสถาบันการเงิน หรือ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้เราไม่ประเมินมูลค่าไว้สูงเกินความเป็นจริงมากเกินไป


เหมาะกับ:
การประเมินค่าทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น อะพาร์ตเมนต์ หอพัก  หรือ เซอร์วิสอะพาร์ตเมนต์

ตัวอย่าง:
ประเมินมูลค่าอะพาร์ตเมนต์ 100 ห้องพัก ที่มีอัตราค่าเช่า 3,000 บาท/ห้อง/เดือน เท่ากับว่าจะมีรายได้ 3,600,000 บาท/ปี เมื่อหักสัดส่วนการไม่ได้ใช่ประโยชน์ออก คือ มีอัตราการเข้าพัก (Occupancy rate) 80% เท่ากับว่ามีรายได้จริง 2,880,000 บาท/ปี และหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายออกอีกประมาณ 30% ของรายได้จริง เหลือรายได้สุทธิเท่ากับ 2,016,000 บาท/ปี เมื่อคำนวณหามูลค่าด้วยสูตร V = I/R ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 5% ต่อปี มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินได้คือ 40,320,000 บาท

  1. วิธีวิเคราะห์กระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Analysis)


วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน:

วิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินมูลค่าด้วยวิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach) โดยที่รายได้และค่าใช้จ่ายของทรัพย์สินในอนาคตอาจเปลี่นแปลงขึ้น-ลงตามภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ หรือ เศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถใช้สูตร V = I/R ด้วยการแทนค่ารายได้รวมสุทธิจากการคูณรายได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น


เหมาะกับ:
การประเมินค่าทรัพย์สินที่รายได้-รายจ่ายผันผวนตามตลาดเศรษฐกิจ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน(Feasibility Study) สำหรับวางแผนพัฒนาคอนโดมิเนียม หรือ การประเมินค่าโรงแรม เป็นต้น

  1. วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach)

    วิธีการประเมิน:

 มูลค่าที่ดิน = มูลค่าโครงการ – ต้นทุนค่าก่อสร้าง – ต้นทุนอื่น ๆ 

วิธีนี้เป็นการประเมินค่าโดยสมมุติการพัฒนาที่เปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด (Highest and Best Use) ตามภาวะตลาดขณะนั้น โดยมีวิธีการประเมินคือ หามูลค่าโครงการที่เกิดจากการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดีีที่สุด แล้วหักค่าใช้จ่ายต้นทุนค่าก่อสร้าง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เหมาะกับ:
การประเมินค่าที่ดินเปล่า หรือ การพัฒนาโครงการใหม่บนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดีที่สุด

ตัวอย่าง:

การประเมินที่ดินขนาด 200 ตร.วา มีหน้ากว้าง 40 เมตร ลึก 20 เมตร เหมาะจะพัฒนาอาคารพานิชย์ขนาด 20 ตร.วา หน้ากว้าง 4 เมตรจำนวน 10 หน่วยเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด และขายในราคา 5 ล้านบาท/หน่วย เท่ากับว่า มูลค่าโครงการเท่ากับ 50 ล้านบาท ( อาคารพานิชย์ 5 หลัง x 10 ล้านบาท/หน่วย) หักต้นทุนค่าก่อสร้างอาคารละ 1 ล้านบาท รวม 10 ล้านบาท และหักต้นทุนค่าดำเนินการ 30% ของมูลค่าโครงการ เท่ากับ 15 ล้านบาท
มูลค่าที่ดิน = 50 – 10 -15 ล้านบาท
มูลค่าที่ดิน = 25 ล้านบาท หรือ 125,000 บาท/ตร.วา

  1. วิธีการประเมินโดยสร้างแบบจำลองทางสถิติ (Modeling for Mass Appraisal)

CAMA เป็นแขนงหนึ่งของการประเมินโดยวิธีเปรียบเทียบตลาด โดยใช้การสร้างแบบจำลองทางสถิติแบบ MRA (multiple regression analysis) มาช่วย ทั้งนี้ใช้มากในการประเมินเพื่อการเวนคืน จัดรูปที่ดิน โดยใช้ประเมินทรัพย์สินนับร้อยนับพันแปลงที่ตั้งอยู่ติดกัน โดยต้องวิเคราะห์ให้เห็นว่ามูลค่าขึ้นอยู่กับตัวแปรอะไร เช่น ในการประเมินมูลค่าที่ดิน ตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้แก่ หน้ากว้าง ขนาด การถมที่ ฯลฯ แล้วจึงนำค่าตัวแปรเหล่านี้ มาทำการวิเคราะห์โดยการสร้างแบบจำลองขึ้น บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เป็นผู้ใช้วิธีนี้ครั้งแรกในประเทศไทยในการศึกษาเพื่อการจัดรูปที่ดิน ตั้งแต่ปี 2533

  1. การนำวิธีต่าง ๆ ข้างต้นมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อความเหมาะสม
    ในหลายกรณี จะต้องอาศัยการประเมินหลายวิธีจึงจะประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราใช้วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach) แล้วพบว่าควรจะพัฒนาอาคารพานิชย์บนที่ดินดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด เราจะต้องใช้ วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach) เพื่อประเมินค่าอาคารพานิชย์ว่าควรจะตั้งราคาขายเท่าไหร่จึงจะสอดคล้องกับสภาวะตลาดในพื้นที่นั้น ๆ จากนั้นเราจึงจะคำนวณมูลค่าของที่ดินขึ้นมาได้ หากเราตั้งราคาอาคารพานิชย์สูงหรือต่ำเกินไปก็จะทำให้เราประเมินมูลค่าที่ดินออกมาคลาดเคลื่อนไป โดยเฉพาะในกรณีที่ทรัพย์สินมีมูลค่าสูง หรือ ซับซ้อนมาก อาจต้องใช้หลายวิธีมาประเมิน และต้องอาศัยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของผู้ประเมินในการพิจารณาสรุปความเห็นต่อมูลค่าทรัพย์สินที่สมควร

หากคุณต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สิน FEASY แนะนำให้เรียนหลักสูตรจากโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (TREBS) ได้แก่

หลักสูตร การประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ สัมฤทธิ์ผลใน 4 วัน (AP100)
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY 

* สำหรับสมาชิก FEASY แพคเกจ Premium และ Team รับส่วนลดพิเศษ 10%
สนใจรับการประเมินค่าทรัพย์สิน สามารถส่งข้อมูลเพื่อรับการปรึกษาได้ที่นี่
 

#ประเมินค่าทรัพย์สิน, #อสังหาฯ #ความรู้อสังหาฯ.#อสังหา 101#ที่ดิน#นักพัฒนาอสังหา

บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/content/detail/1135