วิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่าย ๆ จะมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินก็เช็คได้

ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ของคุณได้ทันที
ราคาประเมิน
ความรู้อสังหาฯ
กฎหมายอสังหาฯ
อสังหา 101
ที่ดิน
ราคาที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1187

ตรวจสอบราคาที่ดิน ราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ราคาที่ดิน ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ราคาที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ราคาที่ดิน ของคุณได้ทันที

ราคาที่ดิน
ความรู้อสังหาฯ
กฎหมายอสังหาฯ
อสังหา 101
ที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1187/

FAR อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน คืออะไร?

กฎหมายผังเมืองจะมีข้อกำหนดพื้นที่อาคารที่สร้างได้ FAR และ OSR ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารในแต่ละพื้นที่ ต่อให้เป็นที่ดินที่อยู่ติดกันแต่อยู่คนละผังสี มีค่า FAR และ OSR ต่างกันก็ทำให้พื้นที่ของอาคารที่พัฒนาได้ต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนซื้อ-ขายที่ดินจะต้องตรวจสอบสีผังเมือง ประเภทอาคารสร้างได้ และค่า FAR OSR เพราะหากที่ดินของคุณสามารถสร้างอาคารได้พื้นที่มากขึ้น ก็มีโอกาสที่ราคาที่ดินจะสูงขึ้นอีกด้วย

FAR คืออะไร?

FAR (Floor to Area Ratio) คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน เป็นตัวกำหนดว่าจะสามารถสร้างอาคารได้ขนาดเท่าไหร่ โดยมีวิธีคำนวณคือ

พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  =  ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดิน

ตัวอย่าง ที่ดินขนาด 2 ไร่ (3,200 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 19,200 ตารางเมตร

OSR คืออะไร?

OSR (Open Space Ratio) คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม เป็นตัวกำหนดว่าต้องเหลือพื้นที่ว่างบนพื้นดินเท่าไหร่ ส่งผลต่อขนาดอาคารเช่นเดียวกัน โดยมีวิธีการคำนวณ คือ

พื้นที่เปิดโล่งบนที่ดิน= ค่า OSR xพื้นที่ดิน

ตัวอย่าง ที่ดินขนาด 2 ไร่ (3,200 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด OSR = 5% เท่ากับว่า จะต้องมีพื้นที่เปิดโล่งบนที่ดินโดยไม่มีหลังคาคลุม 5% x 3,200 = 160 ตารางเมตร หมายความว่าต้องเว้นที่ว่างไว้ ไม่ใช้ก่อสร้างอาคาร 160 ตารางเมตรนั่นเอง

หากว่าที่ดินหลายแปลงตั้งอยู่บนพืื้นที่สีผังเมืองคนละสี ก็จะมีศักยภาพการพัฒนาอาคารต่างกัน เนื่องจาก FAR ส่งผลต่อพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และ OSR ส่งผลต่อพื้นที่เปิดโล่งบนพื้นดิน ยิ่งเป็นพื้นที่พานิชยกรรม สีแดง สีส้ม สีน้ำตาล ก็สามารถสร้างอาคารได้ขนาดใหญ่กว่า และมีพื้นที่เปิดโล่งบนที่ดินน้อยกว่าพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม อย่างพื้นที่สีเขียว เป็นต้น

สีผังเมืองสีเขียว FAR OSR
สีผังเมืองสีเหลือง FAR OSR
สีผังเมืองสีแดง FAR OSR

วิธีตรวจสอบค่า FAR OSR ง่ายๆ 

            เราสามารถตรวจสอบค่า FAR OSR ตามสีผังเมืองได้ง่าย ๆ บนเว็บไซต์ Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ที่เปิดให้สมัครสมาชิกใช้งานฟรี แค่จิ้มบนแผนที่ก็สามารถตรวจสอบสีผังเมืองได้แล้ว โดยปัจจุบันเราได้รวบรวมข้อมูลสีผังเมืองจำนวน 21 จังหวัด พร้อมข้อมูล FAR OSR มาแสดงบนแผนที่แล้ว

ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

นอกจากนี้ คุณสามารถสร้าง “รายงานศักยภาพการลงทุน” เพื่อดูผลการวิเคราะห์ศักยภาพที่ดินของคุณในคลิกเดียว ได้แก่ สีผังเมือง FAR OSR ราคาตลาดที่ดินรอบข้าง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการคำนวณค่าเช่าที่ดินที่เหมาะสม เป็นต้น
ดูตัวอย่าง “รายงานศักยภาพการลงทุน” ได้ที่นี่

ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

#ความรู้อสังหาฯ
#กฎหมายอสังหาฯ
#อสังหา 101 
#ที่ดิน 
#FAR 
#ผังเมือง

ที่มา : https://www.feasyonline.com/content/detail/1202/#FAR

วิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ง่าย ๆ จะมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินก็เช็คได้

ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ของคุณได้ทันที
ราคาประเมินที่ดิน, โฉนด #ความรู้อสังหาฯ. #กฎหมายอสังหาฯ #อสังหา 101 #ที่ดิน #ราคาที่ดิน

เว็บอ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1187

ที่ดินมูลค่าสูงแต่ราคาต่ำ? มูลค่า (Market Value) ต่างจาก ราคา (Price) อย่างไร? by feasyonline.com

บางครั้งที่ดิน อสังหาฯ หรือทรัพย์สินบางอย่างอาจมีมูลค่าตลาด (Market Value)และ ราคา (Price) ที่แตกต่างกันอย่างมาก เช่น นาฬิกาหรูรุ่นลิมิเต็ดอาจมีราคาขายต่ำเมื่อต้องไปจำนองในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี หรือ ที่ดินตาบอดอาจมีราคาสูงเมื่อไปรวมแปลงกับที่ดินอื่นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนา ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า มูลค่า(Market Value) ต่างจาก ราคา (Price)อย่างไร?

          มูลค่าตลาด (Market Value) คือ จำนวนเงินประมาณการที่ผู้ซื้อและผู้ขายยอมรับที่จะทำการแลกเปลี่ยนอย่างยุติธรรม ภายในช่วงเวลานั้น ๆ นี่เป็นคำจัดกัดความที่สรุปและแปลมาจาก the International Valuation Standards Committee (IVSC) ระบุไว้ว่า Market Value คือ “the estimated amount for which an asset should exchange on the date of valuation between a willing buyer and a willing seller in an arm-length transaction, after proper marketing, wherein the parties had each acted knowledgeably, prudently and without compulsion” ซึ่งสามารถตีความได้ดังนี้:
    1) “the estimated amount” หรือ จำนวนเงินประมาณการ เพราะในการประเมินค่าทรัพย์สินอาจไม่สามารถระบุได้ชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อเป็นความเห็นทางวิชาชีพ อาจแตกต่างกันได้ตามมุมมองของผู้ประเมินแต่ละคน อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรแตกต่างจนมีนัยสำคัญ ไม่เช่นนั้นอาจเป็นความผิดพลาดในการให้ความเห็นแล้ว
    2) “should exchange on the date of valuation” ถือว่าควรจะซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนได้ ณ วันที่ประเมินค่า เพราะในอนาคตมูลค่าตลาดอาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อีกครึ่งปีข้างหน้ามีประกาศว่าจะเกิดการพัฒนารถไฟฟ้าผ่านพื้นที่ดังกล่าว มูลค่าของที่ดินก็อาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก
    3) “arm-length transaction” ภายใต้เงื่อนไขธรรมชาติการซื้อขายที่เป็นธรรม คือ มีความตรงไป-ตรงมา มีเวลาตัดสินใจเพียงพอ (ก่อนวันประเมิน) กอปรด้วยความรอบรู้ในทรัพย์สินนั้นของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และไม่ถูกกดดันหรือถูกบังคับให้ซื้อขายทรัพย์สิน

            ราคา (Price) คือ จำนวนเงินที่ใช้สำหรับเสนอหรือจ่ายสำหรับสินค้าและบริการ ราคาเป็นตัวเลขจริง แต่ราคานั้นอาจจะไม่มีความสัมพันธ์กับ มูลค่าตลาด (Market Value) ก็ได้ เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่งมีมูลค่าตลาดประมาณ 10,000 บาท แต่ในยามจำเป็นต้องขาย อาจขายเพียง 3,000 บาทเท่านั้น

ที่ดิน หรือ อสังหาฯ มูลค่าสูง แต่ขายได้ราคาต่ำ?

บางครั้งเจ้าของที่ดิน หรือ อสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ เช่น คอนโด บ้าน อาคารพานิชย์จะตั้งราคาขายเอาไว้สูงเพราะคิดว่าเราลงทุนพัฒนา ปรับปรุงพื้นที่ หรือ ตกแต่งห้องใหม่ไปตั้งเยอะ ต้องขายได้ในราคาสูงสิ แต่ในความเป็นจริงมูลค่าตลาดอาจสูง หรือ ต่ำกว่าที่เราคาดหวัง เช่น เราต้องการขายบ้านพร้อมที่ิดินขนาด 60 ตร.วา 2 ชั้น 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ที่อยู่อาศัยมาได้ 10 ปี มีการรื้อและปรับปรุงใหม่หลายครั้งให้ตรงกับความต้องการของเราทำให้เสียเงินไปเป็นจำนวนมาก เราจึงคิดว่าควรประกาศขายที่ราคา  10 ล้านบาท ทั้งที่บ้านขนาดเดียว คุณภาพใกล้เคียงกันในทำเลรอบข้างซื้อขายกันอยู่ที่ 5 ล้านบาท หากคิดอย่างนี้แสดงว่าราคาที่เราคิดไว้ สูงกว่ามูลค่าตลาดแน่ ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะขายไม่ออก หากมีคนสนใจดีไซน์ของบ้านที่คุณปรับปรุงมากจริง ๆ ก็อาจจะตัดสินใจซื้อในราคาใกล้เคียงกับที่คุณประกาศขายก็ได้

ที่ดิน หรือ อสังหาฯ มูลค่าต่ำ แต่ขายได้ราคาสูง?

            ในขณะเดียวกัน คุณอาจเป็นเจ้าของที่ดินตาบอดใจกลางเมืองและกำลังกลุ้มใจว่าที่ดินของคุณมีมูลค่าต่ำ เพราะไม่มีทางเข้าออกทำให้ไม่สามารถพัฒนาโครงการและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ แต่มีผู้ประกอบการอสังหาฯ สนใจซื้อที่ดินของคุณ เมื่อคุณไปสืบพบว่าผู้ประกอบการได้ซื้อที่ดินแปลงเล็ก ๆ ซึ่งติดกับแปลงที่ดินของคุณเพื่อเป็นทางเข้าจากถนนหลัก ทำให้สามารถพัฒนาโครงการบนที่ดินของคุณได้ จากที่ดินตาบอดมูลค่าต่ำกลายเป็นขายได้ในราคาสูง เพราะอยู่ใจกลางเมืองและมีทางเข้าออกทำให้สามารถพัฒนาอาคารสูงได้ คุณก็สามารถต่อรองราคาขายที่ดินให้สูงขึ้นได้

          จะเห็นว่ามูลค่าตลาด (Market Value) กับ ราคา (Price) ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ราคาสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อไดหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากเราเข้าใจว่ามูลค่าทรัพย์สินของเราควรจะเป็นเท่าไหร่ เราก็จะสามารถตั้งราคาขายที่สอดคล้องกันได้ ไม่ขายแพงจนหาคนซื้อยาก หรือ ขายถูกจนขาดทุนนั่นเอง

ถ้าหากคุณอยากรู้มูลค่าตลาดของอสังหาริมทรัพย์ของคุณ เพื่อการซื้อขาย ลงทุน หรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ควรจะติดต่อนักประเมินมืออาชีพ ที่นี่

มูลค่าตลาด, Market Value, ที่ดิน #ความรู้อสังหาฯ. #อสังหา 101 #ที่ดิน

เว็บอ้างอิง : https://feasyonline.com/content/detail/1180

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่าย ๆ จะมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินก็เช็คได้ by feasyonline

ราคาประเมินที่ดิน ใช้สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามทีี่กฎหมายกำหนด เป็นราคาที่ดินที่ได้รับการประเมินโดยกรมธนารักษ์ เราจะใช้ราคาประเมินที่ดินนี้เมื่อเราต้องการซื้อ-ขาย-โอนที่ดินก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน หรือ เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามราคาประเมินนั่นเอง วิธีการตรวจสอบราคาประเมินง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีข้อมูลโฉนดอยู่ในมือ หรือ ไม่มีข้อมูลโฉนดเลยก็ตาม

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แบบมีโฉนด

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินง่ายๆ เพียงเตรียมโฉนดที่ดินให้พร้อมแล้วมาค้นหาราคาประเมินที่ดินกันใน 3 ขั้นตอน

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์
  2. ค้นหาราคาประเมิน โดยมีทางเลือกการค้นหา 2 แบบคือ
    1. ค้นจากเลขที่โฉนด เพียงกรอกเลขที่โฉนด หน้าสำรวจ และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
    2. ค้นหาจากเลขที่ดิน เพียงกรอกเลขที่ดิน ระวาง และจังหวัดที่ตั้งแปลงที่ดินของคุณ
  3. ดูราคาประเมินที่ดินได้ที่ด้านขวามือ
    ค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แม้ไม่มีโฉนด

นายหน้าอสังหา หรือเจ้าของที่ดินบางครั้งก็อยากจะตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่ไม่ได้พกโฉนดติดตัวไว้ หรือยังไม่มีข้อมูลโฉนดทำให้ค้นหาราคาประเมินที่ดินได้ลำบาก แต่ไม่ต้องห่วง เราจะแนะนำวิธีการตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยที่ไม่ต้องใช้โฉนด เพียงรู้ตำแหน่งแปลงที่ดิน และมีมือถือพร้อมอินเตอร์เนทก็ตรวจสอบได้แล้ว เพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น

  1. เข้าเว็บไซต์ “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”ของกรมที่ดิน หรือ แอพลิเคชั่น Landmaps
  2. ค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณง่าย ๆ
    คุณสามารถซูมแผนที่เข้าไปค้นหาที่ตั้งที่ดินของคุณ หรือค้นหาจากจังหวัด เขต แขวง หรือแม้กระทั่งค้นหาสถานที่สำคัญ เหมือนการใช้ google maps จะช่วยให้คุณมองเห็นที่ตั้งที่ดินคุณได้ง่ายขึ้น เช่น ที่ดินของคุณตั้งอยู่ใกล้ ศูนย์ราชการนนทบุรี คุณก็ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้แล้วซูมไปบนแผนที่เพื่อหาที่ตั้งที่ดินของคุณค้นหาราคาประเมินที่ดิน
  3. Double-click คลิกบนที่ตั้งที่ดินของคุณ 2 ครั้ง ระบบจะแสดงขอบเขตที่ดินขึ้นมา ให้คุณคลิกบนกรอบขอบเขตที่ดินของคุณ และสามารถดูรายละเอียดข้อมูลโฉนด ขนาดที่ดิน รวมทั้งราคาประเมินได้ทันทีค้นหาราคาประเมินที่ดิน

ถ้าหากแปลงที่ดินที่คุณสนใจไม่แสดงราคาประเมินที่ดินบนเว็บไซต์ทันที คุณก็สามารถนำข้อมูลโฉนดที่ดิน ได้แก่ หมายเลขระวาง เลขที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน และหน้าสำรวจ ไปค้นหาราคาประเมินที่ในเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ ตามขั้นตอนการค้นหาราคาประเมิน แบบมีโฉนดที่ดิน ด้านบนได้

     เพียงแค่นี้คุณก็สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน ทั้งแบบมีโฉนด หรือ ไม่มีโฉนดที่ดินในมือ รวมทั้งช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลแปลงที่ดิน เช็คตำแหน่งที่ตั้งและรูปแปลงที่ดินให้ตรงกับข้อมูลของคุณได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้ราคาประเมินที่ดินของคุณแล้ว สามารถคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือคำนวณบนเว็บไซต์ Feasy เพียง “เพิ่มที่ดิน” แล้วอ่านรายงานศักยภาพที่ดิน ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงราคาตลาดที่ดินในทำเลใกล้เคียง (ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่ดินในแต่ละพื้นที่) สีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง และเครื่องมือคำนวณค่าเช่าที่ดิน

สมัครสมาชิกฟรี! เช็คศักยภาพอสังหาฯ ของคุณได้ทันที



ข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY 
#ความรู้อสังหาฯ.#กฎหมายอสังหาฯ#อสังหา 101#ที่ดิน#ราคาที่ดิน

ราคาประเมินที่ดิน, โฉนด #ความรู้อสังหาฯ #กฎหมายอสังหาฯ#อสังหา 101#ที่ดิน#ราคาที่ดิน

เว็บไซต์อ้างอิง : http://feasyonline.com/content/detail/1187

การรอนสิทธิ รู้ไว้ก่อนเสียสิทธิในที่ดิน by feasyonline.com

หากคุณจะเช่า หรือ ซื้อที่ดินจะต้องตรวจสอบก่อนว่าที่ดินนั้นถูกการรอนสิทธิหรือไม่ เพราะจะส่งผลให้คุณไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้เต็มศักยภาพ หรือ ไม่สามารถใช้ที่ดินนั้นได้เลย ส่งผลให้ราคาค่าเช่าที่ดิน หรือ ราคาขายที่ดินควรจะต้องลดลงด้วย โดยอาจเกิดจากการพัฒนาของภาครัฐเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว เช่น การตั้งแนวเสาไฟฟ้าแรงสูง หรือ อาจเกิดจากการที่เจ้าของที่ดินทำนิติกรรมบางอย่างที่การรอนสิทธิในที่ดินของตนเอง เช่น การให้ใช้ที่ดินบางส่วนเป็นทางภาระจำยอม เป็นต้น จึงควรตรวจสอบทุกครั้งก่อนทำสัญญาด้วยการคัดโฉนดที่กรมที่ดิน โดยลักษณะการรอนสิทธิมี 8 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

การรอนสิทธิ

  1. ที่ดินใต้แนวเสาไฟฟ้าแรงสูง
    หากที่ดินตั้งอยู่ใต้แนวเสาไฟฟ้าแรงสูง จะถูกรอนสิทธิโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คือ เจ้าของยังมีกรรมสิทธิ์ที่ดินเหมือนเดิม แต่ลดสิทธิการใช้ประโยชน์ลงแลกกับค่าการรอนสิทธิที่เป็นธรรม โดยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 ได้กำหนดไว้ดังนี้
    1. ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอันตรายแก่ระบบไฟฟ้า เช่น ห้ามนำวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรกล เช่น รถเครน รถยก รถตัก รถขุด เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงน้อยกว่า 4.00 เมตร หรือ ห้ามเผ่าไร้อ้อย นาข้าว ป่าพง หรือวัสดุอื่นใดในเขตแนวสายไฟฟ้า
    2. ห้ามปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างอื่น ทุกชนิด ในเขตเดินสายไฟฟ้า
    3. ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผล ในเขตเดินสายไฟฟ้า ดังนี้
  • บริเวณพื้นที่ที่ตั้งเสา และพื้นที่โดยรอบโคนเสา ภายในระยะห่างจากแนวขาเสา 4 เมตร ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผล ทุกชนิด
  • บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้านอกจากข้อ 3.1 ห้ามปลูกต้นไม้หรือพืชผล ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมีความสูงเกินกว่า 3 เมตร
  • บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า ของสายส่งไฟฟ้า ระดับแรงดัน 500,000 โวลต์ ห้ามปลูกอ้อย
  1. กระทำการใดๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดิน บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า เช่น การปรับสภาพพื้นดินให้สูงขึ้น การขุดดิน การขุดบ่อ การก่อสร้างถนน จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรการ กฟผ.ก่อน

    โรงเรือนหรือสิ่งอื่นที่สร้างขึ้น หรือทำขึ้น ต้นไม้หรือพืชผล ที่ปลูกขึ้น โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือไม่ได้รับอนุญาต ให้ กฟผ.มีอำนาจรื้อถอน ทำลาย หรือตัดฟันตามสมควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้กำหนดเขต การรอนสิทธิเป็นความกว้างของเขตสายไฟฟ้า ตามขนาดของสายส่งไฟฟ้า ไว้ดังนี้
  1. ข้อกำหนดห้ามโอน
          อาจเกิดจากการออก น.ส.3 โดยที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ หรือมี ส.ค.1 อยู่ก่อน ทางการอาจกำหนดห้ามโอน 10 ปี หรือที่เรียกว่า “โฉนดหลังเเดง” ในกรณีนี้หากระยะเวลาที่ห้ามเหลืออีกนาน เช่น เหลืออีก 8 ปี ก็จะเกิดปัญหาว่าไม่สามารถขายต่อได้จนกว่าจะครบกำหนด
  1. สัญญาเช่า
          กฎหมายในบ้านเรากำหนดให้สัญญาเช่ามีระยะเวลาเกินกว่า 3 ปีขึ้นไปจะต้องจดทะเบียนที่ที่ดินด้วย จึงต้องตรวจสอบดูว่าสัญญาเช่ายังเหลืออีกกี่ปี และอัตราค่าเช่าเป็นอย่างไร สัญญาเช่านี้จะเช็คไม่ได้ก็เฉพาะกรณีที่ให้เช่าต่ำกว่า 3 ปีที่ทำสัญญาเช่ากันเอง หรือกรณีเช่าเฉพาะสิ่งปลูกสร้างซึ่งจะจดทะเบียนที่อำเภอ เพราะการเช่าในสองลักษณะนี้จะไปปรากฏธุรกรรมในหน้าสารบัญโฉนด เเต่อย่างใดต้องลงพื้นที่สำรวจด้วยตัวเองแทน
  1. สิทธิเก็บกิน
          สิทธิซึ่งผู้ทรงสิทธิมีสิทธิครอบครองใช้ หรือถือเอาซึ่งประโยชน์เเห่งทรัพย์สินนั้นภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายไว้ไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิก็ได้ ทั้งนี้เมื่อจดทะเบียนมอบสิทธิแบบนี้ให้กับใครแล้ว เวลาทำสัญญาเช่าผู้เช่าต้องทำกับผู้ทรงสิทธิเก็บกิน เเทนที่จะทำกับเจ้าของซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
  1. สิทธิอาศัย
          เป็นสิทธิที่ผู้อาศัยมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า ซึ่งอาจมีระยะเวลาไม่เกินกว่า 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ
  1. สิทธิเหนือพื้นดิน
          หมายถึงสิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินนั้น เเละอาจมีกำหนดเวลาไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของเจ้าของที่ดิน หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้ และเมื่อครบกำหนดผู้ทรงสิทธิมีสิทธิรืื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไปด้วย
  1. ภาระติดพัน
          คนที่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ จากทรัพย์สินนั้น หรือได้ใช้ หรือถือเอาประโยชน์เเห่งทรัพย์สินตามระบุไว้ ถ้าไม่ระบุระยะเวลาไว้สันนิษฐานไว้ว่ามีอยู่ตลอดชีวิตของผู้ได้รับประโยชน์ หรือถ้ากำหนดเวลาไม่เกิน 30 ปี
  1. ภาระจำยอม
          ที่ดินอาจตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น ภาระจำยอมที่พบบ่อยคือภาระจำยอมเรื่องให้ผ่านทาง โดยยอมให้โฉนดแปลงอื่นใช้ประโยชน์เป็นทางผ่านได้

     การรอนสิทธิทำให้เจ้าของที่ดินเสียสิทธิไปมาก เพราะฉะนั้นต้องตรวจสอบให้ดีก่อนทำนิติกรรมใด ๆ เพราะการรอนสิทธิบางประเภทไม่ได้ระบุระยะเวลาไว้ เช่น การรอนสิทธิของที่ดินใต้แนวเสาไฟฟ้าแรงสูงจะมีผลต่อที่ดินนั้นตลอดไป เจ้าของที่ดินจึงต้องต่อรองราคาให้เป็นธรรมจึงจะคุ้มกับสิทธิที่หายไป สำหรับผู้ที่จะซื้อ หรือจะเช่าที่ดินจะต้องตรวจสอบกับกรมที่ดินให้แน่ใจว่าที่ดินที่สนใจนั้นไม่ถูกรอนสิทธิ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้คุ้มค่า คุ้มราคาที่ดินนั่นเอง


ความรู้อสังหาฯ การรอนสิทธิ ที่ดิน ความรู้อสังหาฯ กฎหมายอสังหาฯ #อสังหา 101#ที่ดิน

บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/content/detail/1188

การประเมินค่าทรัพย์สิน ทำอย่างไร นักพัฒนาอสังหาฯ และเจ้าของที่ดินต้องรู้

การกำหนด มูลค่าตลาด (Matket Value) ของทรัพย์สินนั้นต้องอาศัยวิธีการประเมินค่าทรัพย์สินที่ต่างกัน ขึ้นอยู่ กับรูปแบบของทรัพย์สิน และวัตถุประสงค์ของการประเมิน โดยมีวิธีการประเมินหลักๆ 6 วิธีดังนี้

  1. วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)
  2. วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)
  3. วิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)
  4. วิธีวิเคราะห์กระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Analysis)
  5. วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach)
  6. วิธีการประเมินโดยสร้างแบบจำลองทางสถิติ (Modelling for Mass Appraisal)
    หรือ นำวิธีต่าง ๆ ข้างต้นมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อความเหมาะสม

1. วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)

วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน:

หลักการสำคัญของวิธีนี้คือ
 มูลค่า = ต้นทุนในการหาสิ่งอื่นที่เทียบเคียงมาทดแทน 
โดยวิธีการประเมิน คือ การประมาณการต้นทุนในการสร้างอาคารทดแทนตามราคาปัจจุบัน (Present Value) แล้วหักลบด้วยค่าเสื่อมราคา (ถ้ามี) บวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน ก็จะได้มูลค่าของทรัพย์สินนั้น

เหมาะกับ:
การประเมินอาคารประเภทโรงงาน และอาคารที่สร้างขึ้นเฉพาะ หาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นมาเทียบเคียงได้ยาก รวมทั้งการทำประกันอัคคีภัยเพราะต้องสร้างอาคารใหม่มาแทนที่

ตัวอย่าง:
ประเมินค่าโรงงานอายุ 10 ปีด้วยวิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน ถ้าจะต้องสร้างอาคารใหม่ในปัจจุบันจะต้องใช้เงิน 10 ล้านบาท หักค่าเสื่อม 20% (ปีละ 2% 10 ปี) ทำให้มูลค่าอาคารเหลือ 8 ล้านบาท เมื่อบวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน 10 ล้านบาท ก็เท่ากับว่ามูลค่าของที่ดินพร้อมโรงงานนี้คือ 18 ล้านบาท

2. วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)

วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน:

หลักการสำคัญของวิธีนี้คือ
มูลค่า = ราคาของทรัพย์สินเทียบเคียงที่คนอื่นขายได้
วิธีการประเมินนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้ที่สุดในการหามูลค่าตลาด (Market Value) ของทรัพย์สิน โดยวิธีการประเมิน คือ การหาทรัพย์สินที่มีลักษณะใกล้เคียง ในทำเลใกล้เคียง ที่มีการซื้อขายกัน มาวิเคราะห์เปรียบเทียบภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น คุณภาพอาคาร และขนาดที่ดิน เพื่อสรุปหามูลค่าของทรัพย์สินที่ประเมิน
ในการประเมินมูลค่าด้วยวิธีนี้ จะต้องให้ความสำคัญต่อการหาทรัพย์สินเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพราะ อาจมีการสร้างหลักฐานซื้อขายเท็จว่าบ้านทำในทำเลใกล้เคียงขายได้ในราคาสูงกว่าความเป็นจริง ทำให้มูลค่าทรัพย์สินที่ได้มาจากการประเมินคลาดเคลื่อนได้ ผู้ประเมินจึงต้องหาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบมาประกอบการวิเคราะห์

เหมาะกับ:
การประเมินหามูลค่าตลาดสำหรับการซื้อ-ขาย และ การขอสินเชื่อ เป็นต้น

ตัวอย่าง:
ประเมินมูลค่าบ้านในโครงการจัดสรร 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำขนาด 130 ตร.ม. บนที่ดินขนาด 50 ตร.วา จะต้องหาข้อมูลการซื้อขายบ้านจัดสรรในทำเลใกล้เคียง ที่มีขนาดอาคาร จำนวนห้องนอน-ห้องน้ำ และขนาดที่ดินที่ใกล้เคียงกันประมาณ 5 แปลงมาวิเคราะห์เปรียบเทียบตลาดด้วยการเฉลี่ยเชิงคุณภาพหรือแบบถ่วงน้ำหนัก (WQS: Weight Quality Score) เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม

3. วิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)

วิธีการประเมิน:

มูลค่าวันนี้ = ผลรวมของรายได้สุทธิที่จะได้ในอนาคตจนสิ้นอายุขัย
การประเมินมูลค่าด้วยวิธีผลตอบแทนทางตรง (Direct Capitalization) เหมาะสำหรับทรัพย์สินที่สร้างรายได้ ยิ่งสร้างรายได้มาก มูลค่าของทรัพย์สินก็ยิ่งสูงขึ้น โดยมีวิธีการประเมิน ดังนี้
1. ประมาณการรายได้โดยพิจารณาจาก รายได้จริงที่ผ่านมาของทรัพย์สิน และการเปรียบเทียบตลาด
2. หักสัดส่วนการไม่ได้ใช่ประโยชน์ออก เช่น อัตราการเข้าพัก (Occupancy rate)
3. หักต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น ค่าบริหาร ภาษีอากร ประกัน ค่าบำรุงรักษา เป็นต้น เพื่อให้ได้รายได้สุทธิ
4. คำนวณหาผลรวมของรายได้สุทธิที่จะได้ในอนาคตจนสิ้นสุดอายุขัย โดยนำรายได้สุทธิมาเข้าสูตร
   V = I / R โดยที่ V คือ มูลค่าทรัพย์สิน, I คือ รายได้สุทธิ และ R คืออัตราผลตอบแทน
อัตราผลตอบแทน มักใช้อัตราขั้นต่ำที่เงินจะเติบโตโดยที่เงินทำงานให้เรา เช่น อัตราเงินฝากของสถาบันการเงิน หรือ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้เราไม่ประเมินมูลค่าไว้สูงเกินความเป็นจริงมากเกินไป


เหมาะกับ:
การประเมินค่าทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น อะพาร์ตเมนต์ หอพัก  หรือ เซอร์วิสอะพาร์ตเมนต์

ตัวอย่าง:
ประเมินมูลค่าอะพาร์ตเมนต์ 100 ห้องพัก ที่มีอัตราค่าเช่า 3,000 บาท/ห้อง/เดือน เท่ากับว่าจะมีรายได้ 3,600,000 บาท/ปี เมื่อหักสัดส่วนการไม่ได้ใช่ประโยชน์ออก คือ มีอัตราการเข้าพัก (Occupancy rate) 80% เท่ากับว่ามีรายได้จริง 2,880,000 บาท/ปี และหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายออกอีกประมาณ 30% ของรายได้จริง เหลือรายได้สุทธิเท่ากับ 2,016,000 บาท/ปี เมื่อคำนวณหามูลค่าด้วยสูตร V = I/R ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 5% ต่อปี มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินได้คือ 40,320,000 บาท

  1. วิธีวิเคราะห์กระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Analysis)


วิธีการประเมินค่าทรัพย์สิน:

วิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินมูลค่าด้วยวิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach) โดยที่รายได้และค่าใช้จ่ายของทรัพย์สินในอนาคตอาจเปลี่นแปลงขึ้น-ลงตามภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ หรือ เศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถใช้สูตร V = I/R ด้วยการแทนค่ารายได้รวมสุทธิจากการคูณรายได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น


เหมาะกับ:
การประเมินค่าทรัพย์สินที่รายได้-รายจ่ายผันผวนตามตลาดเศรษฐกิจ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน(Feasibility Study) สำหรับวางแผนพัฒนาคอนโดมิเนียม หรือ การประเมินค่าโรงแรม เป็นต้น

  1. วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach)

    วิธีการประเมิน:

 มูลค่าที่ดิน = มูลค่าโครงการ – ต้นทุนค่าก่อสร้าง – ต้นทุนอื่น ๆ 

วิธีนี้เป็นการประเมินค่าโดยสมมุติการพัฒนาที่เปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด (Highest and Best Use) ตามภาวะตลาดขณะนั้น โดยมีวิธีการประเมินคือ หามูลค่าโครงการที่เกิดจากการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดีีที่สุด แล้วหักค่าใช้จ่ายต้นทุนค่าก่อสร้าง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เหมาะกับ:
การประเมินค่าที่ดินเปล่า หรือ การพัฒนาโครงการใหม่บนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดีที่สุด

ตัวอย่าง:

การประเมินที่ดินขนาด 200 ตร.วา มีหน้ากว้าง 40 เมตร ลึก 20 เมตร เหมาะจะพัฒนาอาคารพานิชย์ขนาด 20 ตร.วา หน้ากว้าง 4 เมตรจำนวน 10 หน่วยเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด และขายในราคา 5 ล้านบาท/หน่วย เท่ากับว่า มูลค่าโครงการเท่ากับ 50 ล้านบาท ( อาคารพานิชย์ 5 หลัง x 10 ล้านบาท/หน่วย) หักต้นทุนค่าก่อสร้างอาคารละ 1 ล้านบาท รวม 10 ล้านบาท และหักต้นทุนค่าดำเนินการ 30% ของมูลค่าโครงการ เท่ากับ 15 ล้านบาท
มูลค่าที่ดิน = 50 – 10 -15 ล้านบาท
มูลค่าที่ดิน = 25 ล้านบาท หรือ 125,000 บาท/ตร.วา

  1. วิธีการประเมินโดยสร้างแบบจำลองทางสถิติ (Modeling for Mass Appraisal)

CAMA เป็นแขนงหนึ่งของการประเมินโดยวิธีเปรียบเทียบตลาด โดยใช้การสร้างแบบจำลองทางสถิติแบบ MRA (multiple regression analysis) มาช่วย ทั้งนี้ใช้มากในการประเมินเพื่อการเวนคืน จัดรูปที่ดิน โดยใช้ประเมินทรัพย์สินนับร้อยนับพันแปลงที่ตั้งอยู่ติดกัน โดยต้องวิเคราะห์ให้เห็นว่ามูลค่าขึ้นอยู่กับตัวแปรอะไร เช่น ในการประเมินมูลค่าที่ดิน ตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้แก่ หน้ากว้าง ขนาด การถมที่ ฯลฯ แล้วจึงนำค่าตัวแปรเหล่านี้ มาทำการวิเคราะห์โดยการสร้างแบบจำลองขึ้น บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เป็นผู้ใช้วิธีนี้ครั้งแรกในประเทศไทยในการศึกษาเพื่อการจัดรูปที่ดิน ตั้งแต่ปี 2533

  1. การนำวิธีต่าง ๆ ข้างต้นมาปรับใช้ร่วมกันเพื่อความเหมาะสม
    ในหลายกรณี จะต้องอาศัยการประเมินหลายวิธีจึงจะประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราใช้วิธีการตั้งสมมติฐานการพัฒนา (Residual Approach) แล้วพบว่าควรจะพัฒนาอาคารพานิชย์บนที่ดินดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดีที่สุด เราจะต้องใช้ วิธีเปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach) เพื่อประเมินค่าอาคารพานิชย์ว่าควรจะตั้งราคาขายเท่าไหร่จึงจะสอดคล้องกับสภาวะตลาดในพื้นที่นั้น ๆ จากนั้นเราจึงจะคำนวณมูลค่าของที่ดินขึ้นมาได้ หากเราตั้งราคาอาคารพานิชย์สูงหรือต่ำเกินไปก็จะทำให้เราประเมินมูลค่าที่ดินออกมาคลาดเคลื่อนไป โดยเฉพาะในกรณีที่ทรัพย์สินมีมูลค่าสูง หรือ ซับซ้อนมาก อาจต้องใช้หลายวิธีมาประเมิน และต้องอาศัยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของผู้ประเมินในการพิจารณาสรุปความเห็นต่อมูลค่าทรัพย์สินที่สมควร

หากคุณต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สิน FEASY แนะนำให้เรียนหลักสูตรจากโรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (TREBS) ได้แก่

หลักสูตร การประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ สัมฤทธิ์ผลใน 4 วัน (AP100)
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY 

* สำหรับสมาชิก FEASY แพคเกจ Premium และ Team รับส่วนลดพิเศษ 10%
สนใจรับการประเมินค่าทรัพย์สิน สามารถส่งข้อมูลเพื่อรับการปรึกษาได้ที่นี่
 

#ประเมินค่าทรัพย์สิน, #อสังหาฯ #ความรู้อสังหาฯ.#อสังหา 101#ที่ดิน#นักพัฒนาอสังหา

บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/content/detail/1135

วิเคราะห์ 5 Re-strategy กลยุทธ์ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในยุคโควิด-19 by feasyonline.com

ผู้ประกอบการอสังหาฯ รับมืออย่างไรกับการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของดีมานด์การซื้ออสังหาฯ กำลังซื้อที่อาจลดลงเนื่องจากรายได้ของผู้คนไม่มั่นคงเหมือนเดิม ความไม่มั่นใจ ของลูกบ้านเดิมและว่าที่ลูกบ้านต่อความปลอดภัยของที่พักอาศัย และแนวทาง Social distancing ที่ทำให้คนหันไป Work From Home ทำงานที่บ้านกันมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันเหล่านี้ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต้องรีบปรับกลยุทธ์ Re-strategy กันภายในเวลาสั้น ๆ เพื่อตอบรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงระดับโลกนี้ Feasy พาคุณมาดูกันว่าแต่ละแบรนด์อสังหาฯ ต่าง ๆ มีกลยุทธ์การรับมือ กันอย่างไรบ้าง

  1. ขายอสังหาฯ ออนไลน์ เมื่อคนเริ่มชอปปิ้งบ้านผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น
            ก่อนจะมีโควิด-19 เราก็เห็นแบรนด์อสังหาฯ ปรับตัวเพิ่มช่องทางการทำการตลาดออนไลน์อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการชมบ้านแบบ 360 องศาผ่านเว็บไซต์ การจองบ้านออนไลน์ Online Booking ผ่านเว็บไซต์ของเจ้าของโครงการ และเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เช่น Shopee หรือ Lazada แต่ในยุคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันนี้ทำให้เกิด Digital disruption ในวงการอสังหาฯ ที่ทุกแบรนด์พร้อมใจกันขายอสังหาฯ ผ่านทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น FB Live, Line OA, Website, Tiktok และอื่น ๆ เรียกได้ว่าในยุคโควิด-19 ไปจนถึงหลังยุคนี้ ผู้บริโภคคงจะคุ้นชินกับการใช้เวลาเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ และลดเวลาในการไปดูโครงการที่หน้างานลง ตัวอย่างเช่น อนันดาฯ เปิดช่องทางการขายอสังหา 24 ชั่วโมงผ่าน “Ananda iStore” ด้วย 3 ช่องทางออนไลน์ได้แก่ เว็บไซต์ Facebook และ Line OA “Chat & Shop” หรือ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ที่เปิด Official Store บนแพลทฟอร์ม Shopeeและ Lazada
  1. เพิ่มความเชื่อมั่นของลูกบ้าน ด้วยการบริการที่ใส่ใจและได้มาตรฐาน
            การสร้าง Customer Loyalty หรือการมัดใจลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทุกธุรกิจ เพราะพวกเขาเป็นกระบอกเสียงที่จะแนะนำแบรนด์ต่อให้กับเพื่อนๆ หรือเป็นลูกค้าที่จะกลับมาซื้อสินค้าของบริษัทซ้ำอีกครั้ง แบรนด์อสังหาฯ ทั้งหลายจึงต้องดูแลลูกค้าให้ดี โดยเฉพาะลูกบ้านในที่อยู่อาศัยที่ดูมีความเสี่ยงสูง อย่างคอนโดมิเนียมที่เป็นสินค้าหลักในตลาดอสังหาฯ เพื่อรักษาความสัมพันธ์และสร้างความไว้วางใจให้กับลูกบ้าน แบรนด์อสังหาฯ ทั้งหลายจึงจัดทำมาตรการรักษาความสะอาดและความปลอดภัย ด้วยการการกำหนดเวลาในการใช้พื้นที่ส่วนกลาง การแจกหน้ากากอนามัย ตั้งจุดคัดกรอง และการวางเจลล้างมือให้บริการลูกบ้านภายในโครงการ รวมทั้งมาตรการพิเศษ เช่น แบรนด์เสนา เปิดแคมเปญ “Sena Zero Covid Hotline” สายด่วนพาลูกบ้านไปโรงพยาบาล สำหรับลูกบ้านที่มีไข้ หรือสงสัยว่ามีความเสี่ยงเพียงติดต่อนิติบุคคลของโครงการ หรือ แบรนด์ Ananda ที่ส่งมอบคอนโดปลอดเชื้อ เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกบ้านใหม่ โดยใช้นวัตกรรม UVC Technology เทคโนโลยีฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต ครอบคลุมการฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 และแบคทีเรีย ที่ผ่านการทดสอบและรับรองจากหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ถึง 99.9% โดยนำร่องมาใช้กับ 7 โครงการพร้อมอยู่จำนวน 2,400 ยูนิตและทุกยูนิตที่พร้อมเข้าอยู่ในปีนี้
  1. กระหน่ำจัดโปรโมชั่น เร่งระบายสต็อกอสังหาฯ
            ดีมานด์ในการซื้ออสังหาฯ ช่วงโควิดลดลงอย่างมาก โดย“ดร.โสภณ พรโชคชัย” ประธานกรรมการ AREA-เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส คาดการณ์ว่าภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในปี 2563 น่าจะติดลบ 15-20% โดยดูอาการจากช่วง 2 เดือนแรกของปี (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563) จากเดิมที่มีการประเมินไว้เมื่อช่วงปลายปี 2562 ว่าธุรกิจอสังหาฯในปี้นี้น่าจะกลับมาบวกได้ 5-10% เท่ากับว่าโควิด-19 นี้ทำให้เกิดการผันผวนของตลาดอย่างมาก อีกทั้งยังมีอสังหาฯ ในสต๊อกที่รอการขายกันอยู่เยอะทำให้ผู้ประกอบการต้องจัดโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม เพื่อเร่งให้เกิดยอดโอน เช่น บมจ.อนันดา นำโครงการคอนโดมิเนียมทำเลพหลโยธิน 34 ออกแคมเปญผ่อนดาวน์ช่วยลูกค้าครึ่งหนึ่งของจำนวนค่างวด รวมทั้งจัดโปรโมชั่นผ่านการจองออนไลน์ เมื่อเพิ่มเป็นเพื่อนกับอนันดาฯ รับข้อเสนอพิเศษจองเริ่มต้น 999 บาท ส่วนลดสูงสุด 3.9 ล้านบาท เป็นต้น
    อีกทั้งเรายังได้เห็นธุรกิจอสังหาฯ สร้างโปรโมชั่นเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละราย อย่างค่ายเสนาออกโปรพิเศษ Personalizes promotion พร้อมดูแลลูกค้าทุกรูปแบบ เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้าและแบ่งเบาภาระทางการเงิน เพราะลูกค้าแต่ละรายมีปัญหาต่างกันผู้ประกอบการจึงพร้อมปรับมาตรการเพื่อช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ
    นอกจากโปรสำหรับลูกค้าใหม่แล้ว บางแบรนด์ยังออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าปัจจุบันอีกด้วย เช่น ศุภาลัยออกมาตรการพักชำระค่างวดผ่อนดาวน์ 3 เดือน (3 งวด) สำหรับลูกค้าในสายอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด เช่น ลูกค้าที่มีอาชีพในกลุ่มสายการบิน โรงแรม ฯลฯ โดยลูกค้าที่ขอรับสิทธิจะต้องอยู่ในระหว่างการผ่อนชำระเงินดาวน์กับบริษัทในโครงการศุภาลัยทั่วประเทศ
  1. ใช้ทรัพยากรคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
            ในยุคโควิด-19 หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง หลายหน้าที่การงานที่ไม่มีความจำเป็นในช่วงล็อกดาวน์ก็อาจโดนพักงาน ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ต้องปรับตัวมาใช้ทรัพย์กรคน พนักงานในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อพยุงองค์กร และรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรต่อไปได้ ดังนั้น พนักงานหนึ่งคนจึงไม่ได้มีหน้าที่เดียวอีกต่อไป อย่างเช่น แคมเปญ “Everyone can sell” ของแบรนด์ออริจิ้น ที่เปลี่ยนพนักงานเป็น Micro-Influencer ขายอสังหาฯ ผ่านช่องทางการตลาดของตัวเอง เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด และสร้างรายได้ให้องค์กรและพนักงาน จากเดิม ที่มีฝ่ายขายและการตลาดประมาณ 250 คน จากพนักงานในเครือกว่า 1,200 คน แต่วันนี้ทุกคนกลายเป็นนักขายอสังหาฯ ออนไลน์ไปแล้ว
  1. มองการณ์ไกลถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในวันข้างหน้า
            ผู้ประกอบการอสังหา ต้องมีวิสัยทัศน์เตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19 โดยหลายแบรนด์มองว่าจะเกิด New Normal ความปกติใหม่ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น องค์กรและพนักงานต่างปรับตัวไป Work From Home กันมากขึ้น ทำให้ฟังก์ชั่นการใช้งานพื้นที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไป อย่าง แบรนด์ออริจิ้นมองว่าคนจะกล้าซื้อบ้านที่อยู่ไกลที่ทำงานมากขึ้น ต้องการพื้นที่อยู่อาศัยที่มีขนาดใหญ่ และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ภายในห้องพักต้องมีพื้นที่สำหรับกิน นอน ทำงาน และออกกำลังกาย เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ภายในห้องจะต้องมีฟังก์ชั่นการใช้สอยที่มากกว่าเดิม
            รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของการออกแบบพื้นที่ส่วนกลาง Co-….ing space เป็น Co-separate space ด้วยการออกแบบให้คนนั่งแยกกันในพื้นที่ส่วนกลางเดียวกัน เพื่อตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยของสุขภาพอนามัยมากขึ้น และใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบไร้สัมผัส (Touchless) ไม่ว่าจะเป็น ระบบสแกนจากการจดจำใบหน้า (Face Recognition) หรือระบบการสั่งการด้วยเสียง (Voice Command) สำหรับใช้ในพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ลิฟท์ เป็นต้น คาดว่าเราคงได้เห็นการออกแบบการใช้งานพื้นที่ภายในห้องและการใช้พื้นที่ส่วนกลางแบบใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตหลังยุคโควิด-19 เป็นแน่

        วิกฤตโควิด-19 นี้น่าจะส่งผลกระทบในระยะยาว ทำให้ผู้ประกอบการอสังหา ทั้งรายใหญ่ และรายย่อยต่างต้องเร่งมือปรับตัวกันยกใหญ่ นอกจากต้องเร่งปรับตัวเพื่อสร้างยอดขายในปัจจุบัน และเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับลูกบ้านแล้ว ยังต้องคาดการณ์ถึงอนาคตในวันข้างหน้า ที่วิถีชีวิตของผู้คนจะเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ FEASY โปรแกรมวิเคราห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ และขอแนะนำให้นักลงทุนอสังหาฯ รวมทั้งผู้ประกอบการ หมั่นบริหารพอร์ตการลงทุนอสังหาฯ ของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คุณปรับตัวได้อย่างทันท่วงที 

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY 
https://lin.ee/mPnJRzG

#ความรู้อสังหาฯ #ผู้ประกอบการอสังหา, #โควิด #ความรู้อสังหาฯ.#ตลาดอสังหาฯ #กลยุทธ์การลงทุน.#อสังหา 101 #มุมมองนักลงทุน

บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/content/detail/1135